ยินดีต้อนรับ บล็อกสำหรับคนที่ชื่นชอบปลาหมอสี Crossbreed สายพันธุ์ต่างและคนที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลา

คุยกันเรื่องปลาครับ

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประสบการ์ณจริงที่โดนหลอกเรื่องปลา

จากประสบการ์ณจริงที่หลายๆครั้งที่การเดินเล่นดูปลาไปเรื่อยจะเห็นการโกหกขาย ของคนขายปลาแบบหน้าตาเฉย โดยเฉพาะการขายให้กับมือใหม่ที่อยากเลี้ยงปลาหมอสี ทั้งๆที่เค้าอยากได้ปลาตัวผู้ที่สวยไปแต่กลับโดน หรอกให้ซื้อปลาตัวเมียไป บางครั้งก็อยากจะบอกเค้านะแต่กลัวว่าจะออกจากร้านเขาไม่ได้ ( กลัวโดนเจ้าของร้านกระทืบเอาครับ ) ก็เลยทำเป็นเฉย แม้กระนั้นตอนที่ผมเลี้ยงปลาหมอสีใหม่ก็โดนเหมือนกัน โดยที่เจ้าของร้านรับประกันว่าถ้าเลี้ยงแล้วปลาหัวไม่โหนกเป็นปลา หัวสันขวาน ( หัวไม่โหนกและเหมือนปลาตัวเมียมาก )ให้เอากลับมาเปลี่ยนได้ ผมเลี้ยงได้ ประมาณ 3 เดือนปลาหัวไม่โหนกเลยจะเอาปลากลับไปเปลี่ยนที่ร้านที่ซื้อมา ซึ่งแบบมันน่าเจ็บใจมาก เพราะโดนเจ้าของร้านถามกลับว่า ไปซื้อจากร้านไหนมา ซึ่งทุกครั้งที่ไปเดินดูปลาผมจะต้องเข้าร้านนี้ประจำซื่อ อาหารและอื่นๆอีกก็ร้านนี้และหลังจากวันนั้นผมไม่เคยเข้าร้านนั้อีกเลย ( และขอขอบคุณเจ้าของร้านที่ให้ประสบการณ์การเลี้ยงปลากับผมอย่างสุดซึ้งเลยครับ )และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ประมาณ 4-5 ปีแล้วครับ จนเดี่ยวนี้เพาะปลาจนเป็นแล้วครับที่เห็นอยู่บน blog ด้านขวามือนั้นแหล่ะครับ เจ้าหมูแดง แต่ตอนนี้สิ้นชีวาวายไปแล้วเมื่อตอนปลายปีที่แล้วนี่เองครับเสียใจมาก แต่ก็ยังดีใจนิดหน่อยที่ยังได้ลูกมาให้เลี้ยงบ้าง ก็ที่เห็นนั้นแหล่ะเพาะเองกับมือตอนนี้ก็ประมาณ 3.5 นิ้ว และหลายครั้งที่ไปเดินดูปลาก็ยังเห็นเรื่อยๆ ที่เจ้าของร้านปลาบอกว่าเป็นตัวผู้ ทั้งๆที่ผมดูยังไงก็ปลาตัวเมีย ผมไม่แน่ใจว่าเจ้าของร้านดูเป็นหรือเปล่า แต่มั่นใจอยู่อย่างเดียว คือ เอาเงินไว้ก่อน ผมเสียดายนะทั้งที่ขายปลาได้และน่าจะดึงคนเหล่านี้ไว้เป็นลูกค้าประจำ แต่ไม่ทำแล้วดันมาหรอกเขาอีก แต่ก็ยังมีอีกเยอะนะครับ สำหรับ ร้านที่เขาจริงใจกับลูกค้าให้คำปรึกษาด้วย วงการปลาหมอสี Crossbreed จะอยู่ได้อีกนานถ้าเจ้าของร้านให้ความจริงใจกับลูกค้าไม่เห็นแก่ได้อย่างเดียว

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ต้องการโพสต์รูปปลาส่ง mail มานะครับจะโพสต์ให้

ต้องการโพสต์รูปปลาส่ง mail มานะครับฟรีครับจะโพสต์ให้ พร้อมชื่อเจ้าของปลาด้วยนะครับ
ส่งมาได้ที่ mail นี้ fishzone.aquarium@gmail.com

การดูเพศปลาตัวเมียและ การเพาะพันธุ์ หรือ ผสมพันธุ์ปลาหมอสีครอสบรีด

การดูเพศปลาตัวเมียและ การเพาะพันธุ์ หรือ ผสมพันธุ์ปลาหมอสีครอสบรีดมันเป็นความจริงอีกอย่างครับที่หลีกเลี่ยงไม่ครับ สำหรับผู้เลี้ยงปลาหมอสี คือ การเลี้ยงปลาหมอสีตัวโปรดไปถึงจุดๆนึงแล้วต้องการให้ปลาหมอสีตัวโปรดมีลูกมีหลานครับก็คือการเพาะพันธุ์ปลานั้นเองครับ และจุดนี้เองจะเป็นการยกระดับมาตรฐานของผู้เลี้ยงว่ามีประสบการณ์แค่ไหนในการเลี้ยงปลาครับก่อนอื่นต้องรู้จักการดูและการสังเกตูเพศของปลาก่อนครับ ว่าปลาตัวโปรดที่เรากำลังเลี้ยงอยู่ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย สำหรับตัวผู้จะดูง่าย หัวโหนก สีสดใสแต่ตัวเมียจะดูอยากนิดนึงครับ สำหรับผู้ที่กำลังอยากเลี้ยงหรือผู้ที่ยังดูปลาตัวเมียไม่ค่อยเก่งสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ในการเลือกดูเพศปลาได้นะครับโดยใช้หลักการเดียวกัน สำหรับตัวผู้จะไม่กล่าวถึงนะครับแต่จะกล่าวถึงตัวเมียอย่างเดียว ( ตัวผู้จะตรงกันกับตัวเมียประมาณ 90 % เลยครับ )
การดูเพศปลาตัวเมีย
1.วีธีการดูจากลักษณะปลาตัวเมีย ส่วนใหญ่ช่วงหัวจะมีลักษณะลาด ๆ หรือที่เขาเรียกกันว่า หัวสันขวานครับ ( ก็หัวไม่โหนกนั้นแหล่ะครับ ) แต่ใช่ว่าที่หัวโหนกเหมือนตัวผู้จะไม่มีนะครับ แต่หายากมากๆเลยครับ วิธีดูแบบนี้มันก็ยังมีโอกาสผิดพลาดได้มากเหมือนกัน
2.วิธีการดูจุดดำ ๆที่กระโดงหลังของปลาตัวเมีย เป็นวีธีที่ส่วนมากเขาจะดูกันก็ คือ การดูที่กระโดงหลังของปลา ถ้าเป็นตัวเมียจะต้องมีจุดดำ ๆ ขึ้นที่ครีบหลังครับ หากดูที่ครีบหลังแล้วเห็นจุดดำ ๆ ให้มั่นใจได้เลยครับว่าประมาณ 90% เป็นตัวเมีย ( วิธีนี้จะชัวร์การดูที่ลักษณะหัวของปลาครับ )และในการเลือกซื้อปลาจะใช้วีธีนี้ในการเลือกซื้อปลามากที่สุดครับ
3.วิธีการดูที่ชัดและถูกต้องที่สุดต้องดูที่ ท่อนำไข่ ครับ ( ปลาตัวผู้จะมีอวัยวะเพศทีมีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ แหลม ๆ งอ ๆ ทีเรียกกันว่า ท่อน้ำเชื้อ และอยู่ใกล้กับรูทวาร ครับ ) สำหรับปลาตัวเมีย อวัยวะเพศของปลาตัวเมีย จะมีลักษณะเป็นท่อทู่ ๆหนา ๆใหญ่ ๆยิ่งเมื่อพร้อมจะวางไข่เต็มที่ ยิ่งโผล่มาให้เห็นชัดมากเลยครับ และเมื่อตัวเมียถึงวัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมจะวางไข่ อาการจะเห็นชัดเจนอย่างแรกเลยนะครับ คือ จะมีการทำความสะอาดพื้นที่ ที่จะว่างไข่ และตามลำตัวตัวจะมีสีออกดำ ๆ คล้ำ ๆ ทะมึน ๆ กว่าปกติ และมีแถบแนวสีดำ ตั้งฉากกับลำตัวขึ้นมาให้เห็นชัดเจนมากครับ อาการแบบนี้เรียกว่า ปลาฮีท ครับ ( ถ้าเป็นคนที่ตั้งท้องจะมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายครับ ) และจะมีอารมณ์ที่ ดุร้ายมากเลยครับ และถ้าตัวเมียมีอาการแบบนี้แล้วมีท่อทู่ ๆ ใหญ่ ๆโผล่ออกมาด้วยรับรองได้เลยครับว่าตัวเมียแน่นอน 100% และพร้อมที่จะผสมพันธุ์แล้วครับ
การเพาะพันธุ์ หรือ ผสมพันธุ์ปลาหมอสีครอสบรีด
จบจากการดูเพศปลาแล้วมาต่อด้วยเรื่องการผสมพันธุ์ปลากันเลยครับ สำหรับปลาตัวผู้ควรให้มีอายุ ประมาณ 1-1.2 ปีขั้นไปครับ และสำหรับตัวเมีย ควรให้มีอายุประมาณ 3-4 เดือนก็สามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ครับ เพราะจะทำให้มีความพร้อมในการผสมพันธุ์มากกว่าพ่อแม่ที่อายุน้อย และหากพ่อแม่พันธุ์มีอายุน้อยจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงครับ คือ อาจเพาะได้ไม่กี่คอก เพราะตัวผู้อาจไม่มีน้ำเชื้อครับ ในการผสมพันธุ์ควรให้ตัวผู้ มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียซัก 2-2.5 นิ้วขึ้นไป แต่อย่าให้ถึงขนาดต่างกันมากชนิดที่ว่า ตัวเมียเล็กสุดครับไม่กันตัวเมียที่กำลังจะเป็นแม่อาจจะเปลี่ยนเป็นอาหารสำหรับตัวพ่อแทนครับ ( ห้ามให้ตัวเมียมีขนาดตัวใกล้เคียงหรือเท่ากับหรือโตกว่าตัวผู้นะครับ เพราะตัวเมียที่กำลังท้องจะดุมากๆครับอาจจะกันตัวผู้ตายก่อนครับ )เมื่อเราได้พ่อแม่พันธุ์เรียบร้อยแล้วก็มาทำการเพาะพันธุ์กันเลยครับ
ขั้นตอนการผสมพันธุ์มีดังนี้
1. ทำความสะอาดตู้เพาะพันธุ์ให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งสกปรกและเชื้อโรคอยู่ในนั้น ขนาดตู้โดยปกติการเพาะปลาหมอสีครอสบรีดนิยมใช้ตู้ 30-36 นิ้ว หรือจะใหญ่กว่านั้นก็ได้ แต่ถ้าไม่มีตู้ใหญ่ขนาดนั้นก็สามารถใช้ตู้ 24 นิ้วก็ได้ครับ
2. กั้นตู้เพาะพันธุ์แบ่งเป็น 2 ช่อง ควรใช้กระจกกั้นตู้หรือทีกั้นพลาสติกและตัวหนีบกระจกที่สามารถใส่เข้าและถอดออกได้
3. ใส่น้ำที่สะอาดในปริมาณเท่าเดิมและปราศจากคลอรีนลงไปในตู้ กรณีที่ใช้น้ำประปาควรทิ้งไว้ประมาณ2-3วัน เพื่อลดคลอรีนในกรณีที่ตู้ปลาที่ใช้เพาะพันธุ์นั้นเป็นตู้ระบบกรองให้ถอดปลั๊กของตู้กรองออกป้องกันลูกปลาไหลลงในช่องกรองนะครับ
4. ใส่หัวทรายหรือหัวปั๊มอากาศ ภายในตู้ที่กั้นไว้ และต้องแน่ใจว่าปริมาณอากาศเพียงพอสำหรับปลาในตู้ ถ้าไม่แน่ใจให้ใส่หัวทรายซัก 2 หัวก็ได้
5. นำตัวผู้และตัวเมียใส่คนละด้าน และนำถาดรองกระถางดินเผามาใส่ไว้ฝั่งตัวเมียเมื่อนำมาเทียบกันหรือที่เรียกกันว่า การเข้าคู่
6. หลังจากเทียบกันหรือเข้าคู่ ซัก 2-3วัน ก็ลองเปิดกระจกหรือที่กั้นออกดูครับ ช่วงแรกพยายามเฝ้าให้ดี ถ้าไล่กันนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่เป็นไร ...แต่ถ้าไล่กันกะให้ถึงตาย ให้รีบแยกออกจากกันแล้วให้เอากระจกหรือที่กั้นกั้นไว้เหมือนเดิมครับ นั่นแสดงว่ามันยังไม่เข้าคู่กันไม่ได้ และให้ทำอย่างนี้ไปเรื่อยจนกว่าจะเข้าคู่กันได้ครับ ส่วนระยะเวลาในเข้าคู่เอาแน่เอานอนไม่ได้ครับ บางคู่ใช้เวลาเทียบนานถึง3เดือน ในขณะที่บางคู่จับใส่รวมกัน1-2 วันก็เข้าคู่กันได้ทันทีเลยครับ หรือบางคู่อยู่ด้วยกันได้1-2 อาทิตย์วัน แล้วค่อยมากัดกันก็มี แต่ถ้าลองแล้วหลายครั้งปลาเข้าคู่กันไม่ได้เปิดมาทีไรก็กัดกันเหมือนเดิมทุกครั้ง แนะนำว่าเปลี่ยนคู่ไปเลยจะดีกว่าครับ
7. เมื่อปลาเข้าคู่กันได้แล้วและเอาที่กั้นตู้ออกแล้ว ให้สังเกตุปลาตัวเมียดีๆครับ ถ้าท่อนำไข่ยื่นออกมามากแล้วให้ทำการเปลี่ยนน้ำออกประมาณ 50% และอีกไม่เกิน 2 วันปลาก็จะไข่ครับ
8. หลังจากที่ปลาตัวเมียไข่แล้วตัวผู้จะทำหน้าที่ฉีดน้ำเชื้อใส่และช่วงนี้ให้ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง แล้วนำปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียออกจากตู้ ( ผู้เขียนเคยปล่อยไว้ทั้งวัน ทั้งพ่อและแม่ปลาช่วยกันทำความสะอาดตู้กินไข่ทั้งหมดเลยครับ )อุณหภูมิก็เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญในการวางไข่ น้ำที่เย็นเกินไป จะทำให้ปลาวางไข่ได้ยาก ช่วงที่ทำการผสมพันธุ์ ควรควบคุมอุหภูมิด้วยนะครับ โดยการเปิดไฟตู้ปลาเพื่อเพิ่มอุณหภูมิ ครับหากอากาศไม่หนาวมาก หรือถ้าจะให้ดีควรเปิด ฮีทเตอร์ครับ และ อุณหภูมิ ก็มีส่วนกำหนดเพศปลานะครับ ถ้าอากาศเย็นมากลูกปลาที่ออกมาโอกาศที่จะเป็นตัวเมียสูงมากครับ หลังจากที่ตัก พ่อและแม่ปลาออกแล้ว ให้ทำการตะแคงถาดไข่และนำหัวทรายมาเป่าบริเวณด้านบนของถาดไข่ ที่เรียกกันว่า การเป่าไข่ เพื่อเวลาไข่ฟักแล้วจะดีดตัวออกไม่ไปทับตัวที่กำลังจะฟัก
9. ประมาณ 3-5วัน จะสามารถสังเกตุที่ไข่ปลาได้ว่า ไข่ผสมติดหรือไม่ ดูได้จากไข่ปลาจะมีลักษณะ เป็นเม็ดสีดำ ๆ ขึ้นมาที่กลางไข่ หรือที่เรียกกันว่า “เม็ดสาคู” นั่นคือ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว แต่หากไม่มีจุดสีดำ และมีลักษณะขุ่นทึบและมีเชื้อราเกาะ นั่นแสดงว่าไข่ไม่ได้รับการผสม หรือเรียกว่า ไข่เสียหรือไข่ฝ่อ 10. หลังจากไข่ได้รับการผสมประมาณ 3-5 วัน ลูกปลาจะเริ่มทยอยฝักและดีดตัวออกมากลิ้งเล่น หากมองผ่านๆ จะมองไม่เห็นต้องสังเกตให้ดี จะคล้าย ๆ ฝุ่นกองที่พื้นตู้ แต่หากเพ่งมองดี ๆ จะเห็นตัวปลาตัวเล็กมาก ๆ มีเพียงตาดำๆ 2 ตา พยายามดิ้นดุ๊กๆดิ๊ก ๆและไม่กี่วันต่อมาจะเริ่มว่ายน้ำได้ ทีละนิด ๆ ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องให้อาหารอะไรเลยจะให้ก็ตอนลูกปลามีอายุ 7 วันขึ้นไป เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้แล้ว ถือว่าคุณสามารถผสมพันธุ์มันขึ้นมาได้สำเร็จและยกระดับมาตรฐานของตัวคุณเองได้แล้วครับท่าน Breeder คนใหม่

ข้อมูลจำเพาะของปลาปลาหมอสี Flower Horn

ข้อมูลจำเพาะของปลาปลาหมอสี Flower Horn
ชื่อสามัญ : Flower Horn
ถิ่นกำเนิด : ประเทศมาเลเซีย
ขนาดลำตัว : เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 14-15 นิ้ว
อุณหภูมิของน้ำ : 28-30 องศาเซลเซียส
ค่าpHของน้ำ : 7.0-7.8
ลักษณะเด่น รูปร่างหน้าตา
ปลาฟลาวเวอร์ ฮอร์น เป็นปลาหมอสีที่มีขนาดใหญ่ และมีความโดเด่น คือบริเวณหัวจะมีโหนกที่สูงใหญ่ และลวดลายบนลำตัวหรือที่เรียกกันว่า มาร์คกิ้ง จะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยมุกที่เรียกกันว่า “ดอกเหม๋ยฮัว” เป็นแถบหากเป็นปลาที่มีลักษณะที่ดีจะมีดอกเหม๋ยฮัวพาดกลางลำตัวตั้งแต่แก้มไปจรดหาง อีกทั้งยังมีสีสันสดใสสวยงามแตกต่างกันไปอีกด้วย นอกจากจุดเด่นของดอกเหม๋ยฮัวแล้ว ฟลาวเวอร์ ฮอร์นยังมีจุดเด่นที่มีส่วนของหางและครีบที่มีขนาดใหญ่และเกล็ดของปลาก็มีมากและยังมีหลากหลายสีสันอีกด้วย หากว่าฟลาวเวอร์ ฮอร์นตัวไหนมีมุกที่ลำตัวด้วยแล้วจัดว่าเป็นปลาที่มีความสวยงามอย่างสมบูรณ์แบบมากทีเดียว ลูกปลาฟลาวเวอร์ ฮอร์นจะไม่ค่อยมีสีสันที่สวยงามเหมือนกับพ่อแม่ กระทั่งมีขนาดได้ประมาณ 3-5 นิ้วขึ้นไปจึงจะเริ่มสังเกตเห็นลวดลายต่างๆ ได้บ้าง จนกระทั่งปลานั้นโตเต็มวัยก็จะมีสีสันสวยงามมาก ซึ่งปลาแต่ละชนิดนี้จะมีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป สำหรับการเลือกเลี้ยงนั้นก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนว่าชอบแบบไหน เช่น ชอบแบบหัวโหนก, ชอบแบบมีมุกเต็มตัว, ชอบแบบเน้นคอแดง, ชอบแบบเน้น มาร์คกิ้ง เป็นต้น
ลักษณะนิสัยฟลาวเวอร์ ฮอร์น
เป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้ายมาก รักถิ่นที่อยู่อาศัย จึงไม่ควรเลี้ยงปลาฟลาวเวอร์ ฮอร์น ปนกับปลาชนิดอื่นๆ หากจะเลี้ยงหลายตัวในตู้เดียวกันควรมีที่กั้น ปลาพันธุ์นี้ยังเป็นปลาที่รักความสะอาด กินอาหารบ่อย มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วเฉลี่ยปลาจะโตเดือนละ 1 นิ้ว อีกทั้งยังทนทานต่อสภาพแวดล้อม มักเล่นหรือคุ้ยเขี่ยหิน และไม่ชอบไม้น้ำ ดังนั้นจึงไม่ควรนำไม้น้ำใส่ในตู้ปลา ด้วยเหตุนี้ถ้านำไม้น้ำใส่ลงในตู้ปลา ปลาจะกัดและทำให้ตู้สกปรก
การสังเกตเพศฟลาวเวอร์ ฮอร์น
ตัวเมียจะมีขนาดเล็ก สีสันซีดอ่อนกว่าตัวผู้และออกด้านๆ บริเวณครีบกระโดงหลังจะมีแถบสีดำติดสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นปลาเพศเมีย แต่นั่นก็ไม่ 100% เสียทีเดียว นอกจากนี้คุณยังสังเกตได้อีกอย่างคือกรณีที่เป็นตัวเมีย (เวลาตั้งท้อง) ท่อไข่จะยื่นออกมา ชอบคุ้ยเขี่ยหินเพื่อทำความสะอาดในบริเวณที่จะวางไข่ ซึ่งสามารถวางไข่ได้คราวละมากถึง ประมาณ 1,000-2,000 ฟอง
อายุของปลา
โดยเฉลี่ยอายุของปลาหมอสี Flower Horn จะมีอายุประมาณ 8-10 ปี และจะต้องดูองค์ประกอบอื่นๆด้วยไม่ว่าจะเป็น คุณภาพน้ำ อาหาร และอื่นๆอีกมากมายไม่ใช่ว่าเลี้ยงแบบไม่สนใจ น้ำเน่า อาหารไม่ให้ ปล่อยให้เป็นโรคแล้วปลาอยู่ได้นานถึง 8-10 ปี ปลาจะอยู่ได้นานต้องดูแลและเอาใจใส่นะครับ

ผู้ติดตาม