ยินดีต้อนรับ บล็อกสำหรับคนที่ชื่นชอบปลาหมอสี Crossbreed สายพันธุ์ต่างและคนที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลา

คุยกันเรื่องปลาครับ

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

อีกตัวครับ ลูกเจ้าหมูแดง


ตัวเดิม ลูก เจ้าหมูแดง


วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทำไมปลาหมอสีที่หัวโหนก แล้วอยู่ดีๆก็หัวยุบ

หลายคนอาจเจอกลับปัญหาลักษณะนี้ ไม่ต้องตกใจครับประมาณ 1-2 อาทิตย์ หรือ 1-2 เดือนก็จะกลับมาเหมือนเดิม
มาว่ากันที่สาเหตุและการแก้ไขกันครับอาจเกิดได้จากปัจจัยเหล่านี้
1. สภาพของน้ำ เริ่มไม่ดี อาจจะใกล้เน่าเสียแล้วครับ ควรเปลี่ยนน้ำหรือถึงเวลาต้องล้างตู้แล้วครับ
2.การเปลี่ยนอาหารคุณภาพของอาหารอาจจะไม่ดีเท่าของเดิมที่ใช้อยู่ปลาหมอสีอาจจะหัวยุบและตัวซีด ควรเปลี่ยนกลับมาใช้อาหารแบบเดิมครับ
3.ปลาหมอสีเกิดอาการตกใจอย่างรุนแรง ไม่ควรทำให้ปลาหมอสีตกใจนอกจาก หัวยุบแล้ว อาจทำให้ปลาบาดเจ็บด้วยเพราะวิ่งชนตู้
4.สภาพของน้ำ และ อุณหภูมิ ของน้ำเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป หรือ ที่เรียกกันว่าน็อคน้ำ เวลาเปลี่ยนน้ำไม่ควรเปลี่ยนเอาน้ำเก่าออกทั้งหมดควรเหลือไว้ ครึ่ง ตู้ หรือ ประมาณ 30 % และใส่น้ำยาปรับสภาพน้ำด้วยครับ
สำหรับในกรณีนี้ อาจต้องใช้เวลานิดนึงครับ ปลาหมอสีก็จะกลับมาเหมือนเดิมชื่นชอบการเลี้ยงปลาหมอสีต้องดูแลให้ดีนะครับ

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จะทำอย่างไรกับปลาหมอสีเมื่อไม่อยู่บ้านหลายๆวัน ( กลัวปลาอดอาหาร )

จากที่หลายท่านคิดว่า ควรให้อาหารเผื่อไว้เวลาปลาหิวก็จะกินเอง นั้นแหล่ะครับเป็นสาเหตุที่ เวลาท่านกลับมาบ้านแล้วเจอว่าปลาหมอสีที่ท่านรักได้เสียชีวิตแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ดหรืออาหารสด อาหารสดที่ว่าคือ กุ้งฝอย ก็ไม่ดีทั้งนั้นแหล่ะครับ เนื่องจากธรรมชาติของปลาหมอสีจะกินแค่อิ่มเท่านั้น จะไม่กินเผื่อในมื้อต่อไป สำหรับอาหารเม็ด เมื่อปลากินไม่หมด อาหารเม็ดก็จะบวมน้ำแล้วก็จมลงไปที่พื้นตู้ด้านล่าง ส่วนกุ้งฝอยเมื่อปลากินไม่หมด ก็จะไล่กัดเล่นครับ จะไม่เก็บไว้กินในมื้อต่อไป หลังจากนั้นอาหารเม็ด หรือ กุ้งสดที่ปลาไล่กัดเล่น ไม่นานก็จะแปรสภาพเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและทำให้น้ำเน่าเสียและเมื่อน้ำเน่าเสียท้ายสุด อาจทำให้ปลาหมอสีของท่านตายได้นะครับ แล้วจะทำอย่างไรล่ะเมื่อท่านไม่อยู่บ้านหลายๆวัน ไม่ได้ ยากอย่างที่คิดครับมีอยู่แค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ เองครับ

1. ให้อาหารปลาหมอสีตามปกติ จนถึงวันที่เราจะออกเดินทาง ไม่ต้องกังวลว่าเราไม่อยู่บ้านแล้วปลา จะอดตาย ย้ำไม่ต้องกังวลครับปลาหมอสีสามารถ อดอาหารได้นานประมาณ 2-3 อาทิตย์ครับถ้าน้ำ ไม่น่าเสีย

2. ล้างตู้ให้สะอาด ก่อนวันที่เราจะออกเดินทางซัก 1-2 วัน เพื่อเอาสิ่งปฏิกูล ออกจากตู้ปลาหมอสีครับ

3. ตรวจเช็คอุปกรณ์ ภายในตู้ เช่น ปลั๊กไฟ ปั๊มน้ำ ปั๊มออกซิเจน ต้องให้มีสภาพที่สมบูรณ์นะครับ ถ้า อุปกรณ์เก่าเกินไปแนะนำให้เปลี่ยนใหม่ดีกว่านะครับ เพราะอาจเกิดปัญหาตอนที่เราไม่อยู่บ้านก็ ได้นะครับ

แล้วจะมานึกเสียใจภายหลัง คงช่วยอะไรไม่ทันแล้วนะครับ เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถเดินทาง ไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือ กลับบ้านต่างจังหวัดหลายๆวันได้แล้วโดยไม่ต้องห่วงอะไรแล้วครับ

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โรคปลาตาโปน

โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นเกิดจาก การติดเชื้อ เกิดจากการบาดเจ็บทางตา หรือ เกิดจากมีพยาธิเข้าไปอยู่หลังตา และที่สำคัญ อีกสาเหตุคือ คุณภาพของน้ำไม่ดี มีการเน่าเสีย คุณภาพของน้ำไม่เหมาะสมและจากทุกสาเหตุที่อาจเกิดขึ้น ทุกอย่างทุกองค์ประกอบ ล้วนเป็นสาเหตุได้ทั้งนั้น ถ้าเราไม่ใส่ใจดูแลปลาหมอสีตัวโปรด ของเราให้ดีครับเมื่อปลาหมอสีตัวโปรดของเราไม่สะบายทุกคนจะต้องหาวิธีที่จะทำให้ปลาหมอสีตัวโปรดของตัวเองให้กลับมาแข็งแรงและร่าเริงเหมือนเดิม
อาการของโรคตาโปน
ปลาจะซึมไม่ร่าเริงเหมือนเดิม ไม่ค่อยกิอาหาร นัยต์ตาของปลาหมอสีจะมองเห็นเป็นฝ้าสีขาวๆขุ่นๆ และเริ่มนูนออกมานิดๆและถ้าปล่อยไว้นานตาของปลาหมอสีจะนูนออกมาเยอะ มาถึงตอนนี้ ถ้ายังไม่รักษาแล้วยังปล่อยไว้อาจทำให้ปลาหมอสีของท่านตาบอดหรือตายได้นะครับตั้งแต่ที่ท่านสังเกตุเห็นอาการนี้ควรแยก ปลาออกมาไว้ตัวเดียว ไม่ควรเลี้ยงปลารวมกับตัวอื่น เพราะอาจทำให้ปลาตัวอื่นติดชื้อไปด้วยและควร ล้างตู้ให้สะอาดด้วครับ
การป้องกัน
ควรรักษา สภาพน้ำ ให้สะอาดอยู่เสมอ อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพ อาหารสดเช่น กุ้งฝอย ควรล้างให้สะอาดด้วย ด่างทับทิม และน้ำเป่ลาที่สะอาดครับการรักษา จะรักษาคล้ายกันกับปลาหมอสีที่ป่วยเป็นโรค หัวเป็นรู ครับ จะแตกต่างกันตรงที่ ตัวยาที่ใช้ในการรักษาครับโรค หัวเป็นรู จะใช้ ยา เมโทรนิดาโซ( Metronidazole )เพียงอย่างเดียวครับสำหรับโรค ปลาตาโปน ตัวยาที่ใช้คือ ยา เมโทรนิดาโซล ( Metronidazole ) + เอม็อกซี่ ( Amoxi ) ยาทั้ง 2 ชนิดนี้หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปและนำยาทั้ง 2 ตัวมาบดให้ละเอียดเน้นต้องให้ละเอียดนะครับแล้วนะมาละลายน้ำ 3-5 ซีซี
การรักษาสามารถรักษาได้ 2 วิธี
1. การให้กินยา
2. การแช่ด้วยยา
วิธีที่ 1 การให้กินยา
การให้กินยาก็แยกได้อีก 2 วิธี วิธีนี้ค่อนข้างได้ผลดี
1. การผสมยาให้เข้ากับอาหาร โดยการคลุกยาให้ผสมกับอาหาร และใช้น้ำผสมให้หมาดๆ เพื่อให้ยาเคลือบที่ผิวของอาหาร แล้วปล่อยไว้ให้แห้ง แล้วให้อาหารปลาหมอสีตามปกติ จนปลาเริ่มมีอาการดีขึ้นดูได้จากตาของปลาเริ่มยุบ อัตราส่วนในการผสม ยา เมโทรนิดาโซล ( Metronidazole ) + เอม็อกซี่ ( Amoxi ) + น้ำ ต่อ อาหาร 1 กรัม = 200 มิลกรัม + 250 มิลกรัม + 3 ซี.ซี / อาหาร 1 กรัม ในกรณีนี้ ปลาหมอสี ยังสามารถกินอาหารเองได้ครับ
2. การป้อนยา คือ การนำตัวยาเข้าไปในตัวปลาโดยตรงเลยครับ วิธีนี้จะยุงยากนิดหน่อยครับ อุปกรณ์ที่ใช้ มี กระบอกเข็มฉีดยา ขนาดเล็กและไม่มีเข็ม ใส้ไก่รถจักรยานยาว ประมาณ 2-3 นิ้ว เพราะจะนุ่มไม่อันตรายต่อภายในตัวปลาแล้วนำยาผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน ยา เมโทรนิดาโซล ( Metronidazole ) + เอม็อกซี่ ( Amoxi )+ น้ำ = 200 มิลกรัม + 250 มิลกรัม + 5 ซี.ซี ขนาดปลา 3-5 นิ้ว ถ้าปลาตัวโตอาจเพิ่มปริมาณของยาขึ้นอีกเป็น=400 มิลกรัม + 500 มิลกรัม + 5 ซี.ซี ให้ตรวจสอบปริมาณของยาด้วยว่ามีกี่มิลลิกรัมต่อเม็ด หลังจากผสมยาแล้ว ให้ดูดเข้ากระบอกฉีดยาแล้วต่อใส้ไก่ เข้ากับกระบอกฉีดยา แล้วสอดเข้าไปในปากของปลากะให้ถึงกระเพาะของปลา แล้วฉีดยาเข้าไป เท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ แล้วรอดูอาการครับ ประมาณ 5-7 วันครับ ถ้าไม่ดีขึ้นให้ทำซ้ำอีกครับ จนกว่าปลาจะดีขึ้นครับ และให้เปลี่ยนน้ำปลา 30 % ทุก 3 วัน
วิธีที่ 2. การแช่ด้วยยา
วิธีนี้ได้ผลช้าครับอัตราการใช้ยา ยา 25 มิลลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร แช่จนกว่าอาการจะดีขึ้นครับ และให้เปลี่ยนน้ำ 30 % ทุกๆ 3 วันทำไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการปลาจะดีขึ้นครับ
การไม่เป็นโรคภัย คือ ลาภอันประเสริฐครับการรักษาสภาพให้สะอาดตลอดเวลา การเลี้ยงที่เหมาะสม อาหารที่มีคุณภาพ เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาแข็งแรงครับขอให้โชคดีกับการเลี้ยงปลาครับ

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พี่เขาฝากขาย ทรงสั้นหัวระเบิด ขาย 2800 บ. ต่อรองได้


ลูกหมูแดงครับ




โรคหัวเป็น รู

สาเหตุเกิด ได้จากหลายๆ ปัจจัย และสภาพการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสม ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ปลาป่วยได้เช่น มีการปล่อยให้น้ำเน่าเสีย
มีการหมักหมมของของเสียในปริมาณที่มาก ออกซิเจนในน้ำมีไม่เพียงพอ หรือ อุณหภูมิของน้ำ ต่ำหรือสูงเกินไป
ดังที่กล่าวมาข้องต้น นี่เป็นเพียงอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปลาป่วย ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ปลาที่มีอาการป่วยของ โรคหัวเป็นรู จะเกิดจากสา
เหตูนี้อย่างเดียว ชึ่งอาจจะเกิดได้จากสาเหตูอื่นอีกก็ได้เช่น เกิดจากอาหารที่ใช้อยู่มีคุณภาพที่ต่ำหรือเกิดจาก การขาด วิตามินหรือแร่ธาตุ
บางอย่าง ซึ่งดังที่กล่าวมา ทุกคนที่เลี้ยงปลาหมอสีย่อมมีความต้องการให้ปลาหมอสีที่เลี้ยงอยู่ มีสุขภาพที่แข็งแรง โตวันโตคืน แต่ในเมื่อปลาเกิด
ป่วย ต้องรีบรักษาอย่าปล่อยไว้นาน จนยากที่จะแก้ แล้วต้องมาเสียใจภายหลัง เมื่อปลาหมอสีตัวโปรดต้อง สิ้นชีวาวาย ครับ
อาการ ปลาจะซึมไม่ร่าเริงเหมือนเดิม สีผิวซีดผิดปกติไปจากเดิม ไม่ค่อยกิอาหาร บริเวณหัวหรือหน้าผา ของ ปลาจะเริ่มเห็นเป็นรูเล็กๆ เกิดขึ้น แล้วจะค่อยขยายเป็น บริเวณกว้าง และ ลึก ลงเรื่อยๆไปจนถึงกระดูก จาก อาการนี้ควรแยก ปลาออกมาไว้ตัวเดียว ไม่ควรเลี้ยงปลารวมกับตัวอื่น เพราะอาจทำให้ปลาตัวอื่นติดชื้อไปด้วยและควร ล้างตู้ให้สะอาดด้วยครับ การป้องกัน ควรรักษา สภาพน้ำ ให้สะอาดอยู่เสมอ อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพ และให้อาหารในปริมาณที่พอดีที่ปลาหมอสีกินหมด ไม่ให้เหลือปริมาณเศษอาหารในตู้ มากเกินไป
การรักษา
สามารถรักษาได้ 2 วิธี
1. การให้กินยา
2. การแช่ด้วยยา
ยาที่ใช้ในการรักษา คือ เมโทรนิดาโซล ( Metronidazole ) หาซื้อได้ตามร้านขายยา ทั่วไป
วิธีที่ 1 การให้กินยา
การให้กินยาก็แยกได้อีก 2 วิธี วิธีนี้ค่อนข้างได้ผลดี
1. การผสมยาให้เข้ากับอาหาร โดยการคลุกยาให้ผสมกับอาหาร และใช้น้ำผสมให้หมาดๆ เพื่อให้ยาเคลือบที่ผิวของอาหาร แล้วปล่อยไว้ให้แห้ง แล้วให้อาหารปลาหมอสีตามปกติ จนปลาเริ่มมีอาการดีขึ้น ดูได้จากรูที่หัวปลาเริ่มมีเนื้อเยื้อ ใหม่ขึ้นมาทดแทน อัตราส่วนในการผสม ยา 15 มิลลิกัม ต่อ อาหาร 1 กรัม ในกรณีนี้ ปลาหมอสี ยังสามารถกินอาหารเองได้ครับ
2. การป้อนยา คือ การนำตัวยาเข้าไปในตัวปลาโดยตรงเลยครับ วิธีนี้จะยุงยากนิดหน่อยครับ อุปกรณ์ที่ใช้ มี กระบอกเข็มฉีดยา ขนาดเล็กและไม่มีเข็ม ใส้ไก่รถจักรยานยาว ประมาณ 2 นิ้ว เพราะจะนุ่มไม่อันตรายต่อภายในตัวปลาแล้วนำยาผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน ยา 50 มิมลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ซีซี ต่อน้ำหนักปลา 1 ก.ก หลังจากผสมยาแล้ว ให้ดูดเข้ากระบอกฉีดยาแล้วต่อใส้ไก่ เข้ากับกระบอกฉีดยา แล้วสอดเข้าไปในปากของปลากะให้ถึงกระเพาะของปลา แล้วฉีกยาเข้าไป เท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ แล้วรอดูอาการครับ ประมาณ 1 อาทิตย์ครับ ถ้าไม่ดีขึ้นให้ทำซ้ำอีกครับ จนกว่าปลาจะดีขึ้นครับ
วิธีที่ 2. การแช่ด้วยยา วิธีนี้ได้ผลช้าครับอัตราการใช้ยา ยา 25 มิลลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร แช่จนกว่าอาการจะดีขึ้นครับ และให้เปลี่ยนน้ำ 30 % ทุกๆ 3 วันทำไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการปลาจะดีขึ้นครับ
และนี่ก็คือวิธีการรักษาปลาหมอสีที่ป่วยเป็นโรค หัวเป็นรู ครับ การไม่เป็นโรคภัย คือ ลาภอันประเสริฐครับการรักษาสภาพให้สะอาดตลอดเวลา การเลี้ยงที่เหมาะสม อาหารที่มีคุณภาพ เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาแข็งแรงครับขอให้โชคดีกับการเลี้ยงปลาครับ

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เลี้ยงปลาหมอสีในกะชัง

สวัสดีครับ หลังจากที่ไม่ค่อยได้เข้ามา Updeat ข้อมูลนานพอสมควร เพราะต้องไปเลี้ยงปลาที่อยู่ในกะชังครับ แบบว่าตู้ที่มีอยู่ไม่พอที่จะใช้เลี้ยงครับ แบบจะนำไปทิ้งก็เสียดายครับเลยนั่งคิด นอนคิดอยู่หลายวันเหมือนกันครับว่าจะทำอย่างไร กับบรรดาปลาหมอสีที่มีอยู่ยังไง ก็เลยไปเดินเล่นที่ตลาดปลา หาดูปลาสวยๆ ( คงไม่ซื้อหรอกครับ ที่มีอยู่ก็เยอะแล้ว )ก็เดินไปเรื่อยๆ ครับดันไปเจอเจ้ากะชังที่เข้าใช้เลี้ยงปลานี้ แหล่ะครับ ความคิดก็ บรรเจิดเลยครับว่าจะทำ กับบรรดาปลาหมอสีที่มีอยู่ก็เลยจัดการซื้อ มา 1 อันครับ ขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 1.5 เมตร กำลังเหมาะเลยครับหลังจากที่ ได้มาแล้วและนำไปกางให้เรียบร้อย ก็นำกับบรรดาปลาหมอสีที่มีอยู่ ไปปล่อยลงครับ จากวันนั้นจนถึง วันนี้ ก็เกือบ 3 อาทิตย์แล้วครับ เลยไปลองเอาปลาขึ้นมาดูครับ แดงดีเหลือเกินครับ ตัวใหญ่เร็วด้วยครับและคาดว่าน่าจะเกิดจาก ปลามีพื้นที่ ว่ายน้ำกว้างขึ้นครับ เร็วนี้ผมคงจะได้อีกกะชังครับ ถ้าเพื่อนคนไหน สนใจจะนำไปใช้บางก็ลองดูนะครับ เผื่อปลาของท่านจะได้สวยกว่าเดิมครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ และกะชังก็ไม่แพงครับ ราคา เท่ากับตู้โล่ง ขนาด 24 นิ้วครับ

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประสบการ์ณจริงที่โดนหลอกเรื่องปลา

จากประสบการ์ณจริงที่หลายๆครั้งที่การเดินเล่นดูปลาไปเรื่อยจะเห็นการโกหกขาย ของคนขายปลาแบบหน้าตาเฉย โดยเฉพาะการขายให้กับมือใหม่ที่อยากเลี้ยงปลาหมอสี ทั้งๆที่เค้าอยากได้ปลาตัวผู้ที่สวยไปแต่กลับโดน หรอกให้ซื้อปลาตัวเมียไป บางครั้งก็อยากจะบอกเค้านะแต่กลัวว่าจะออกจากร้านเขาไม่ได้ ( กลัวโดนเจ้าของร้านกระทืบเอาครับ ) ก็เลยทำเป็นเฉย แม้กระนั้นตอนที่ผมเลี้ยงปลาหมอสีใหม่ก็โดนเหมือนกัน โดยที่เจ้าของร้านรับประกันว่าถ้าเลี้ยงแล้วปลาหัวไม่โหนกเป็นปลา หัวสันขวาน ( หัวไม่โหนกและเหมือนปลาตัวเมียมาก )ให้เอากลับมาเปลี่ยนได้ ผมเลี้ยงได้ ประมาณ 3 เดือนปลาหัวไม่โหนกเลยจะเอาปลากลับไปเปลี่ยนที่ร้านที่ซื้อมา ซึ่งแบบมันน่าเจ็บใจมาก เพราะโดนเจ้าของร้านถามกลับว่า ไปซื้อจากร้านไหนมา ซึ่งทุกครั้งที่ไปเดินดูปลาผมจะต้องเข้าร้านนี้ประจำซื่อ อาหารและอื่นๆอีกก็ร้านนี้และหลังจากวันนั้นผมไม่เคยเข้าร้านนั้อีกเลย ( และขอขอบคุณเจ้าของร้านที่ให้ประสบการณ์การเลี้ยงปลากับผมอย่างสุดซึ้งเลยครับ )และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ประมาณ 4-5 ปีแล้วครับ จนเดี่ยวนี้เพาะปลาจนเป็นแล้วครับที่เห็นอยู่บน blog ด้านขวามือนั้นแหล่ะครับ เจ้าหมูแดง แต่ตอนนี้สิ้นชีวาวายไปแล้วเมื่อตอนปลายปีที่แล้วนี่เองครับเสียใจมาก แต่ก็ยังดีใจนิดหน่อยที่ยังได้ลูกมาให้เลี้ยงบ้าง ก็ที่เห็นนั้นแหล่ะเพาะเองกับมือตอนนี้ก็ประมาณ 3.5 นิ้ว และหลายครั้งที่ไปเดินดูปลาก็ยังเห็นเรื่อยๆ ที่เจ้าของร้านปลาบอกว่าเป็นตัวผู้ ทั้งๆที่ผมดูยังไงก็ปลาตัวเมีย ผมไม่แน่ใจว่าเจ้าของร้านดูเป็นหรือเปล่า แต่มั่นใจอยู่อย่างเดียว คือ เอาเงินไว้ก่อน ผมเสียดายนะทั้งที่ขายปลาได้และน่าจะดึงคนเหล่านี้ไว้เป็นลูกค้าประจำ แต่ไม่ทำแล้วดันมาหรอกเขาอีก แต่ก็ยังมีอีกเยอะนะครับ สำหรับ ร้านที่เขาจริงใจกับลูกค้าให้คำปรึกษาด้วย วงการปลาหมอสี Crossbreed จะอยู่ได้อีกนานถ้าเจ้าของร้านให้ความจริงใจกับลูกค้าไม่เห็นแก่ได้อย่างเดียว

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ต้องการโพสต์รูปปลาส่ง mail มานะครับจะโพสต์ให้

ต้องการโพสต์รูปปลาส่ง mail มานะครับฟรีครับจะโพสต์ให้ พร้อมชื่อเจ้าของปลาด้วยนะครับ
ส่งมาได้ที่ mail นี้ fishzone.aquarium@gmail.com

การดูเพศปลาตัวเมียและ การเพาะพันธุ์ หรือ ผสมพันธุ์ปลาหมอสีครอสบรีด

การดูเพศปลาตัวเมียและ การเพาะพันธุ์ หรือ ผสมพันธุ์ปลาหมอสีครอสบรีดมันเป็นความจริงอีกอย่างครับที่หลีกเลี่ยงไม่ครับ สำหรับผู้เลี้ยงปลาหมอสี คือ การเลี้ยงปลาหมอสีตัวโปรดไปถึงจุดๆนึงแล้วต้องการให้ปลาหมอสีตัวโปรดมีลูกมีหลานครับก็คือการเพาะพันธุ์ปลานั้นเองครับ และจุดนี้เองจะเป็นการยกระดับมาตรฐานของผู้เลี้ยงว่ามีประสบการณ์แค่ไหนในการเลี้ยงปลาครับก่อนอื่นต้องรู้จักการดูและการสังเกตูเพศของปลาก่อนครับ ว่าปลาตัวโปรดที่เรากำลังเลี้ยงอยู่ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย สำหรับตัวผู้จะดูง่าย หัวโหนก สีสดใสแต่ตัวเมียจะดูอยากนิดนึงครับ สำหรับผู้ที่กำลังอยากเลี้ยงหรือผู้ที่ยังดูปลาตัวเมียไม่ค่อยเก่งสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ในการเลือกดูเพศปลาได้นะครับโดยใช้หลักการเดียวกัน สำหรับตัวผู้จะไม่กล่าวถึงนะครับแต่จะกล่าวถึงตัวเมียอย่างเดียว ( ตัวผู้จะตรงกันกับตัวเมียประมาณ 90 % เลยครับ )
การดูเพศปลาตัวเมีย
1.วีธีการดูจากลักษณะปลาตัวเมีย ส่วนใหญ่ช่วงหัวจะมีลักษณะลาด ๆ หรือที่เขาเรียกกันว่า หัวสันขวานครับ ( ก็หัวไม่โหนกนั้นแหล่ะครับ ) แต่ใช่ว่าที่หัวโหนกเหมือนตัวผู้จะไม่มีนะครับ แต่หายากมากๆเลยครับ วิธีดูแบบนี้มันก็ยังมีโอกาสผิดพลาดได้มากเหมือนกัน
2.วิธีการดูจุดดำ ๆที่กระโดงหลังของปลาตัวเมีย เป็นวีธีที่ส่วนมากเขาจะดูกันก็ คือ การดูที่กระโดงหลังของปลา ถ้าเป็นตัวเมียจะต้องมีจุดดำ ๆ ขึ้นที่ครีบหลังครับ หากดูที่ครีบหลังแล้วเห็นจุดดำ ๆ ให้มั่นใจได้เลยครับว่าประมาณ 90% เป็นตัวเมีย ( วิธีนี้จะชัวร์การดูที่ลักษณะหัวของปลาครับ )และในการเลือกซื้อปลาจะใช้วีธีนี้ในการเลือกซื้อปลามากที่สุดครับ
3.วิธีการดูที่ชัดและถูกต้องที่สุดต้องดูที่ ท่อนำไข่ ครับ ( ปลาตัวผู้จะมีอวัยวะเพศทีมีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ แหลม ๆ งอ ๆ ทีเรียกกันว่า ท่อน้ำเชื้อ และอยู่ใกล้กับรูทวาร ครับ ) สำหรับปลาตัวเมีย อวัยวะเพศของปลาตัวเมีย จะมีลักษณะเป็นท่อทู่ ๆหนา ๆใหญ่ ๆยิ่งเมื่อพร้อมจะวางไข่เต็มที่ ยิ่งโผล่มาให้เห็นชัดมากเลยครับ และเมื่อตัวเมียถึงวัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมจะวางไข่ อาการจะเห็นชัดเจนอย่างแรกเลยนะครับ คือ จะมีการทำความสะอาดพื้นที่ ที่จะว่างไข่ และตามลำตัวตัวจะมีสีออกดำ ๆ คล้ำ ๆ ทะมึน ๆ กว่าปกติ และมีแถบแนวสีดำ ตั้งฉากกับลำตัวขึ้นมาให้เห็นชัดเจนมากครับ อาการแบบนี้เรียกว่า ปลาฮีท ครับ ( ถ้าเป็นคนที่ตั้งท้องจะมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายครับ ) และจะมีอารมณ์ที่ ดุร้ายมากเลยครับ และถ้าตัวเมียมีอาการแบบนี้แล้วมีท่อทู่ ๆ ใหญ่ ๆโผล่ออกมาด้วยรับรองได้เลยครับว่าตัวเมียแน่นอน 100% และพร้อมที่จะผสมพันธุ์แล้วครับ
การเพาะพันธุ์ หรือ ผสมพันธุ์ปลาหมอสีครอสบรีด
จบจากการดูเพศปลาแล้วมาต่อด้วยเรื่องการผสมพันธุ์ปลากันเลยครับ สำหรับปลาตัวผู้ควรให้มีอายุ ประมาณ 1-1.2 ปีขั้นไปครับ และสำหรับตัวเมีย ควรให้มีอายุประมาณ 3-4 เดือนก็สามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ครับ เพราะจะทำให้มีความพร้อมในการผสมพันธุ์มากกว่าพ่อแม่ที่อายุน้อย และหากพ่อแม่พันธุ์มีอายุน้อยจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงครับ คือ อาจเพาะได้ไม่กี่คอก เพราะตัวผู้อาจไม่มีน้ำเชื้อครับ ในการผสมพันธุ์ควรให้ตัวผู้ มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียซัก 2-2.5 นิ้วขึ้นไป แต่อย่าให้ถึงขนาดต่างกันมากชนิดที่ว่า ตัวเมียเล็กสุดครับไม่กันตัวเมียที่กำลังจะเป็นแม่อาจจะเปลี่ยนเป็นอาหารสำหรับตัวพ่อแทนครับ ( ห้ามให้ตัวเมียมีขนาดตัวใกล้เคียงหรือเท่ากับหรือโตกว่าตัวผู้นะครับ เพราะตัวเมียที่กำลังท้องจะดุมากๆครับอาจจะกันตัวผู้ตายก่อนครับ )เมื่อเราได้พ่อแม่พันธุ์เรียบร้อยแล้วก็มาทำการเพาะพันธุ์กันเลยครับ
ขั้นตอนการผสมพันธุ์มีดังนี้
1. ทำความสะอาดตู้เพาะพันธุ์ให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งสกปรกและเชื้อโรคอยู่ในนั้น ขนาดตู้โดยปกติการเพาะปลาหมอสีครอสบรีดนิยมใช้ตู้ 30-36 นิ้ว หรือจะใหญ่กว่านั้นก็ได้ แต่ถ้าไม่มีตู้ใหญ่ขนาดนั้นก็สามารถใช้ตู้ 24 นิ้วก็ได้ครับ
2. กั้นตู้เพาะพันธุ์แบ่งเป็น 2 ช่อง ควรใช้กระจกกั้นตู้หรือทีกั้นพลาสติกและตัวหนีบกระจกที่สามารถใส่เข้าและถอดออกได้
3. ใส่น้ำที่สะอาดในปริมาณเท่าเดิมและปราศจากคลอรีนลงไปในตู้ กรณีที่ใช้น้ำประปาควรทิ้งไว้ประมาณ2-3วัน เพื่อลดคลอรีนในกรณีที่ตู้ปลาที่ใช้เพาะพันธุ์นั้นเป็นตู้ระบบกรองให้ถอดปลั๊กของตู้กรองออกป้องกันลูกปลาไหลลงในช่องกรองนะครับ
4. ใส่หัวทรายหรือหัวปั๊มอากาศ ภายในตู้ที่กั้นไว้ และต้องแน่ใจว่าปริมาณอากาศเพียงพอสำหรับปลาในตู้ ถ้าไม่แน่ใจให้ใส่หัวทรายซัก 2 หัวก็ได้
5. นำตัวผู้และตัวเมียใส่คนละด้าน และนำถาดรองกระถางดินเผามาใส่ไว้ฝั่งตัวเมียเมื่อนำมาเทียบกันหรือที่เรียกกันว่า การเข้าคู่
6. หลังจากเทียบกันหรือเข้าคู่ ซัก 2-3วัน ก็ลองเปิดกระจกหรือที่กั้นออกดูครับ ช่วงแรกพยายามเฝ้าให้ดี ถ้าไล่กันนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่เป็นไร ...แต่ถ้าไล่กันกะให้ถึงตาย ให้รีบแยกออกจากกันแล้วให้เอากระจกหรือที่กั้นกั้นไว้เหมือนเดิมครับ นั่นแสดงว่ามันยังไม่เข้าคู่กันไม่ได้ และให้ทำอย่างนี้ไปเรื่อยจนกว่าจะเข้าคู่กันได้ครับ ส่วนระยะเวลาในเข้าคู่เอาแน่เอานอนไม่ได้ครับ บางคู่ใช้เวลาเทียบนานถึง3เดือน ในขณะที่บางคู่จับใส่รวมกัน1-2 วันก็เข้าคู่กันได้ทันทีเลยครับ หรือบางคู่อยู่ด้วยกันได้1-2 อาทิตย์วัน แล้วค่อยมากัดกันก็มี แต่ถ้าลองแล้วหลายครั้งปลาเข้าคู่กันไม่ได้เปิดมาทีไรก็กัดกันเหมือนเดิมทุกครั้ง แนะนำว่าเปลี่ยนคู่ไปเลยจะดีกว่าครับ
7. เมื่อปลาเข้าคู่กันได้แล้วและเอาที่กั้นตู้ออกแล้ว ให้สังเกตุปลาตัวเมียดีๆครับ ถ้าท่อนำไข่ยื่นออกมามากแล้วให้ทำการเปลี่ยนน้ำออกประมาณ 50% และอีกไม่เกิน 2 วันปลาก็จะไข่ครับ
8. หลังจากที่ปลาตัวเมียไข่แล้วตัวผู้จะทำหน้าที่ฉีดน้ำเชื้อใส่และช่วงนี้ให้ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง แล้วนำปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียออกจากตู้ ( ผู้เขียนเคยปล่อยไว้ทั้งวัน ทั้งพ่อและแม่ปลาช่วยกันทำความสะอาดตู้กินไข่ทั้งหมดเลยครับ )อุณหภูมิก็เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญในการวางไข่ น้ำที่เย็นเกินไป จะทำให้ปลาวางไข่ได้ยาก ช่วงที่ทำการผสมพันธุ์ ควรควบคุมอุหภูมิด้วยนะครับ โดยการเปิดไฟตู้ปลาเพื่อเพิ่มอุณหภูมิ ครับหากอากาศไม่หนาวมาก หรือถ้าจะให้ดีควรเปิด ฮีทเตอร์ครับ และ อุณหภูมิ ก็มีส่วนกำหนดเพศปลานะครับ ถ้าอากาศเย็นมากลูกปลาที่ออกมาโอกาศที่จะเป็นตัวเมียสูงมากครับ หลังจากที่ตัก พ่อและแม่ปลาออกแล้ว ให้ทำการตะแคงถาดไข่และนำหัวทรายมาเป่าบริเวณด้านบนของถาดไข่ ที่เรียกกันว่า การเป่าไข่ เพื่อเวลาไข่ฟักแล้วจะดีดตัวออกไม่ไปทับตัวที่กำลังจะฟัก
9. ประมาณ 3-5วัน จะสามารถสังเกตุที่ไข่ปลาได้ว่า ไข่ผสมติดหรือไม่ ดูได้จากไข่ปลาจะมีลักษณะ เป็นเม็ดสีดำ ๆ ขึ้นมาที่กลางไข่ หรือที่เรียกกันว่า “เม็ดสาคู” นั่นคือ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว แต่หากไม่มีจุดสีดำ และมีลักษณะขุ่นทึบและมีเชื้อราเกาะ นั่นแสดงว่าไข่ไม่ได้รับการผสม หรือเรียกว่า ไข่เสียหรือไข่ฝ่อ 10. หลังจากไข่ได้รับการผสมประมาณ 3-5 วัน ลูกปลาจะเริ่มทยอยฝักและดีดตัวออกมากลิ้งเล่น หากมองผ่านๆ จะมองไม่เห็นต้องสังเกตให้ดี จะคล้าย ๆ ฝุ่นกองที่พื้นตู้ แต่หากเพ่งมองดี ๆ จะเห็นตัวปลาตัวเล็กมาก ๆ มีเพียงตาดำๆ 2 ตา พยายามดิ้นดุ๊กๆดิ๊ก ๆและไม่กี่วันต่อมาจะเริ่มว่ายน้ำได้ ทีละนิด ๆ ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องให้อาหารอะไรเลยจะให้ก็ตอนลูกปลามีอายุ 7 วันขึ้นไป เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้แล้ว ถือว่าคุณสามารถผสมพันธุ์มันขึ้นมาได้สำเร็จและยกระดับมาตรฐานของตัวคุณเองได้แล้วครับท่าน Breeder คนใหม่

ข้อมูลจำเพาะของปลาปลาหมอสี Flower Horn

ข้อมูลจำเพาะของปลาปลาหมอสี Flower Horn
ชื่อสามัญ : Flower Horn
ถิ่นกำเนิด : ประเทศมาเลเซีย
ขนาดลำตัว : เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 14-15 นิ้ว
อุณหภูมิของน้ำ : 28-30 องศาเซลเซียส
ค่าpHของน้ำ : 7.0-7.8
ลักษณะเด่น รูปร่างหน้าตา
ปลาฟลาวเวอร์ ฮอร์น เป็นปลาหมอสีที่มีขนาดใหญ่ และมีความโดเด่น คือบริเวณหัวจะมีโหนกที่สูงใหญ่ และลวดลายบนลำตัวหรือที่เรียกกันว่า มาร์คกิ้ง จะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยมุกที่เรียกกันว่า “ดอกเหม๋ยฮัว” เป็นแถบหากเป็นปลาที่มีลักษณะที่ดีจะมีดอกเหม๋ยฮัวพาดกลางลำตัวตั้งแต่แก้มไปจรดหาง อีกทั้งยังมีสีสันสดใสสวยงามแตกต่างกันไปอีกด้วย นอกจากจุดเด่นของดอกเหม๋ยฮัวแล้ว ฟลาวเวอร์ ฮอร์นยังมีจุดเด่นที่มีส่วนของหางและครีบที่มีขนาดใหญ่และเกล็ดของปลาก็มีมากและยังมีหลากหลายสีสันอีกด้วย หากว่าฟลาวเวอร์ ฮอร์นตัวไหนมีมุกที่ลำตัวด้วยแล้วจัดว่าเป็นปลาที่มีความสวยงามอย่างสมบูรณ์แบบมากทีเดียว ลูกปลาฟลาวเวอร์ ฮอร์นจะไม่ค่อยมีสีสันที่สวยงามเหมือนกับพ่อแม่ กระทั่งมีขนาดได้ประมาณ 3-5 นิ้วขึ้นไปจึงจะเริ่มสังเกตเห็นลวดลายต่างๆ ได้บ้าง จนกระทั่งปลานั้นโตเต็มวัยก็จะมีสีสันสวยงามมาก ซึ่งปลาแต่ละชนิดนี้จะมีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป สำหรับการเลือกเลี้ยงนั้นก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนว่าชอบแบบไหน เช่น ชอบแบบหัวโหนก, ชอบแบบมีมุกเต็มตัว, ชอบแบบเน้นคอแดง, ชอบแบบเน้น มาร์คกิ้ง เป็นต้น
ลักษณะนิสัยฟลาวเวอร์ ฮอร์น
เป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้ายมาก รักถิ่นที่อยู่อาศัย จึงไม่ควรเลี้ยงปลาฟลาวเวอร์ ฮอร์น ปนกับปลาชนิดอื่นๆ หากจะเลี้ยงหลายตัวในตู้เดียวกันควรมีที่กั้น ปลาพันธุ์นี้ยังเป็นปลาที่รักความสะอาด กินอาหารบ่อย มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วเฉลี่ยปลาจะโตเดือนละ 1 นิ้ว อีกทั้งยังทนทานต่อสภาพแวดล้อม มักเล่นหรือคุ้ยเขี่ยหิน และไม่ชอบไม้น้ำ ดังนั้นจึงไม่ควรนำไม้น้ำใส่ในตู้ปลา ด้วยเหตุนี้ถ้านำไม้น้ำใส่ลงในตู้ปลา ปลาจะกัดและทำให้ตู้สกปรก
การสังเกตเพศฟลาวเวอร์ ฮอร์น
ตัวเมียจะมีขนาดเล็ก สีสันซีดอ่อนกว่าตัวผู้และออกด้านๆ บริเวณครีบกระโดงหลังจะมีแถบสีดำติดสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นปลาเพศเมีย แต่นั่นก็ไม่ 100% เสียทีเดียว นอกจากนี้คุณยังสังเกตได้อีกอย่างคือกรณีที่เป็นตัวเมีย (เวลาตั้งท้อง) ท่อไข่จะยื่นออกมา ชอบคุ้ยเขี่ยหินเพื่อทำความสะอาดในบริเวณที่จะวางไข่ ซึ่งสามารถวางไข่ได้คราวละมากถึง ประมาณ 1,000-2,000 ฟอง
อายุของปลา
โดยเฉลี่ยอายุของปลาหมอสี Flower Horn จะมีอายุประมาณ 8-10 ปี และจะต้องดูองค์ประกอบอื่นๆด้วยไม่ว่าจะเป็น คุณภาพน้ำ อาหาร และอื่นๆอีกมากมายไม่ใช่ว่าเลี้ยงแบบไม่สนใจ น้ำเน่า อาหารไม่ให้ ปล่อยให้เป็นโรคแล้วปลาอยู่ได้นานถึง 8-10 ปี ปลาจะอยู่ได้นานต้องดูแลและเอาใจใส่นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

ลักษณะของมุกและรูปแบบของมุก ปลาหมอสีครอสบรีด เท็กซัสแดง หรือ Red Texas

ลักษณะของมุก
แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
(1) มุกจม คือ เป็นมุกที่ไม่มีความแวววาว( ดูด้านๆ) ไม่ลอยนูนออกมาจากผิวปลา มุกค่อนข้างจะหม่นๆ ฝังตัวกลมกลืนไปกับผิวปลา ซึ่งมุกประเภทนี้จัดว่าเป็น มุกที่ไม่สวยงามนัก
(2) มุกลอย คือ มุกที่มีความแวววาวมองดูเหมือนจะเป็นนูนๆออกมาจากตัวปลาชัดเจน ยิ่งมองเห็นชัดจากตัวปลามากเท่าไหร่ ยิ่งถือว่าเป็นลักษณะที่ดี และจะ ยิ่งทำให้ปลามีราคาสูงขึ้น
(3) มุกลาย(เส้น) คือ ลายเส้นสีขาวเลือน ๆ ไม่เป็นเม็ดติดตามเกล็ดของตัวปลาและไม่ค่อยชันเจนเท่าไหร่ ความขาวของลายจะเหมือนติดขาวที่เนื้อ มุก ลักษณะนี้มักจะขึ้นมาเป็นเส้น ๆ ในเรื่องของความสวยงามหรือความคมชัดของมุกนั้น มุกที่เป็นลายเส้นอาจจะดูแล้วสวยงามสู้มุกลอยไม่ได้ บางครั้งจะ ออกไปทางเลอะ ๆ มากกว่า แต่ถ้าดูองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างควบคู่กันไป หากลายเส้นที่ขึ้นตามร่างกายปลามีช่องไฟและจังหวะที่สวยงาม ลายของมุกมี ความคมชัด และตัดกับสีสันที่ชัดเจนและฉูดฉาด รวมถึงมีรูปร่างลักษณะอื่น ๆ ที่ทำดูดี จะทำให้มุกชนิดนี้มีความสวยงาม มากกว่ามุกชนิดอื่นๆอีก และ อาจทำให้ปลามีราคาสูงจนคาดไม่ถึงเลยก็ว่าได้
รูปแบบของมุก
(1) มุกเม็ดเล็ก จะมีลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ หรือ จุดที่มีละเอียดเรียงเป็นแถวตามตัว หรือ อาจจะกระจายตัวกันเป็นฝอยไม่มีระเบียบ มุกเม็ดเล็กหากเป็นมุกลอย และมีสีสันที่ดีจะช่วยทำให้ดูดีขึ้น แต่หากเป็นมุกเม็ดเล็กและยังเป็นมุกจมด้วยแล้ว จะทำให้ปลามีความสวยน้อยลง
(2) มุกเม็ดใหญ่ จะมีลักษณะเป็นขีดหนาสั้น ๆ หรือเป็นจุดที่มีขนาดใหญ่ สะดุดตา มองเห็นได้ชัดเจน ค่อนข้างนูน ขอบของมุกมีความคมชัด โดยเฉพาะ ตัวสวย ๆ มุกจะเรียงตัวกันเป็นแนวเหมือนฝักข้าวโพด มุกลักษณะนี้จะมีความสวยงามและเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก แต่จำนวนปลาสวยที่ มุกใน ลักษณะนี้ยังมีอยู่ไม่มาก
(3) มุกลายสมอง หรือบางท่านอาจจะเรียกว่ามุกลายงู แค่ชื่อก็บอกลักษณะอยู่แล้วว่า มุกประเถทมีลักษณะเป็นเส้นเหมือนงู แต่ถ้าดุดีจะเหมือนสมองคน มากกว่า ยิ่งตัดด้วยสีสันที่แดงจัดจ้าน นี่แหล่ะคือ... สุดยอดปลาในฝันของนักเลี้ยงปลาทั้งวงการเลยครับ
(4) มุกผสม คือ มีมุกมากกว่า 1แบบในปลาตัวเดียวกัน ความสวย อยู่ที่ความกลมกลืนผสมผสานกันอย่างลงตัวของปลาตัวนั้น ๆ โดยอาจจะต้องมองรวมไปถึงรูป ทรง สีสัน และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกด้วย มุกที่ดี ...ควรจะมีความคมชัดระหว่างมุกและเนื้อสีที่ตัดกันชัดเจนแบบนี้แหล่ะครับ~!บทสรุปของการคัดเลือกเท็กซัสแดงที่มีคุณภาพ เท็กซัสแดงที่สวยควรจะดูจากหลายองค์ประกอบรวมกัน เช่น เป็นปลาที่ลอกสีแล้ว โทนสีของปลาควรจะมีความเข้มสดสม่ำเสมอกันตลอดทั้งตัว มุกลอยหรือเป็นลายสมองข้ามหัว ข้ามหน้า ใต้คาง หรือช่วงท้องชัดเจน มุกไม่เชื่อมติดทับซ้อนกัน และควรจะเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ มีหัวที่โหนกใหญ่ ( หาได้จะดีมากๆ) ครีบ เครื่อง และหางไม่ควรมีตำหนิ คด งอ พับ ไม่มีเม็ดสาคู หือ พังผืด รูปทรงหน้าอกกว้าง หนา ออกทรงสี่เหลี่ยม ซึ่งเท็กซัสแดงตามที่กล่าวมาขนาดนี้หาได้ยากมาก ๆ จึงไม่แปลกอะไรที่จะมีราคาสูง ๆ ในขณะเดียวกันปลาที่มีคุณภาพน้อยที่กล่าวมา ราคาก็จะลดลงไปด้วยตามความเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม ปลาหมอสีครอสบรีดเท็กซัสแดง เป็นปลาที่มีโอกาสจะพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ไซด์เล็กจนถึงไซด์โต ทำให้ผู้เลี้ยงต้องลุ้นตลอดเวลา ซึ่งถึอเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของปลาหมอสีครอสบรีดชนิดนี้

ลักษณะปลาหมอสีครอสบรีด เท็กซัสแดง หรือ Red Texas

ลักษณะปลาหมอสีครอสบรีด เท็กซัสแดง หรือ Red Texas
1. รูปทรง ต้องมีความกว้างของลำตัวเหมาะสมกับขนาดความยาวของร่างกาย ไม่ควรจะยาวและคอดเกินไป ลำตัวต้องไม่โก่ง คดงอ หรือ บุบ และ โครงสร้าง ต้องไม่มีที่ผิดเพี้ยนเหมือนปลาทั่วไป
2. ลักษณะหน้า จะต้องดูสั้น กลมมน ดูสวยคล้ายซินหรือที่เรียกกันจนติดปลาว่าปลา หน้าซิน ซึ่งได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสที่หัวจะโหนก ดูลักษณะของปากว่าปิดกันสนิทหรือไม่ ( ต้องปิดสนิท ) ถ้าไม่สนิทถือว่า ขากรรไกรของปลามีปัญหา หรือ ลักษณะปากบนและ ปากล่างปะกบกันแล้ว ไม่ สมดุลกันเบี้ยวซ้ายหรือเบี้ยวขวา ตาเมื่อมองหน้าตรง ตาซ้ายและตาขวาจะต้องอยู่ในระดับแนวเดียวกัน เหงือกจะต้องไม่มีการ บิดเบี้ยว ฉีกขาดหรือพับ ช่วงแก้มต้องไม่ บุบ หรือ บุ๋ม ตำหนิใหญ่ที่สุดของปลาอีกจุด นอกจาก ลำตัวโก่ง คดงอ คือ แก้มบุบ หรือ บุ๋ม ข้างเดียว ร่องรอยของบาดแผลที่เกิดจาก โรค หัวเป็นรู ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ กับเจ้าเท็กซัสแดง หรือ Red Texas โดยโรคนี้ถือว่าสร้างความเสียหายกับปลาได้ค่อนข้างสูง บริเวณที่มักจะเกิดขึ้นคือ ช่วงหัว หน้าผาก และจมูก
3. หางและครีบ ต้องสมบูรณ์ มีขนาดใหญ่เหมาะกับขนาดของตัวปลา เวลาว่ายน้ำ ครีบกระโดงบนและล่าง หาง ต้องกางออกเวลาปลาว่ายน้ำ หรือ ยืนน้ำ ทำให้ ปลาดูมีสง่า ขึ้นถือว่าเป็นลักษณะที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากครีบบนและล่างแผ่ออกมาแล้วบรรจบเข้ากับใบหางได้สนิท จะถือว่าเป็นลักษณะที่ดีที่สุด กระโดงบนและกระโดงล่าง และหาง ต้องไม่หัก พับ หงิกงอ หรือ ฉีกขาด กระโดงบนเมื่อกางออกเต็มที่ ก้านครีบแต่ละอันควรจะตั้งขึ้นทั้งหมด ครีบว่าย ต้อง ไม่มีเม็ดสาคู และผังผืด
4. โหนก ถือว่าเป็นจุดสำคัญอีกอย่างของปลาหมอสีครอสบรีด หัวที่โหนกและใหญ่ จะสร้างความโดดเด่นให้กับตัวปลา ถ้าหาได้จะดีมากเลย แต่ปลาชนิดนี้ เป็นปลากมุกจะมีความโดดเด่นอยู่ที่สีสัน( ปลาที่ลอกแล้ว)และมุก ถ้าหาที่หัวโหนกไม่ได้ ไม่เป็นไรแต่ สีสัน( ปลาที่ลอกแล้ว)และมุกต้องที่ 1 เสมอ
5. สีสันและ การลอกนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ไม่สามารถจะบอกได้ว่าปลาตัวไหนจะลอกเมื่อใด บางตัวจะลอกตั้งแต่ไซด์เล็ก บางตัวจะลอกก็ต่อเมื่อมีไซด์ที่ โต ในการลอกของปลาแต่ละตัวนั้น สีการลอกจะแตกต่างกัน เช่น แดง ชมพู ส้ม เหลือง และสีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือสีแดง
6. มุก คือ จุดหรือเม็ด ที่กระจายตัวกันตามตัวของปลา ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดจุดนึ่ง ของเจ้าปลาหมอสีชนิดนี้ ความสวยงามจะอยู่ที่มุก ปลาหมอสี เท็กซัสแดง เป็นปลามุก ในการเลือกปลาชนิดนี้จะต้องมีมุก เป็นองค์ประกอบหลักอีกอย่างที่สำคัญอีกอย่างเลยก็ว่าได้

ปลาหมอสีครอสบรีดสายพันธุ์ เท็กซัสแดง หรือ Red Texas

ปลาหมอสีครอสบรีด เท็กซัสแดง หรือ Red Texas คือการนำ พ่อแม่ปลาหมอสีสายพันธุ์แท้ ที่คนไทยคุ้นเคยกันในชื่อ “เท็กซัสเขียว” นำมาผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาลอกพื้นแดง เช่น ซินแดง , เรดเดวิล , นกแก้ว , คิงคอง ทำให้ได้ลูกที่มีลักษณะเป็นปลาลอกที่แปลกตาในอีกรูปแบบหนึ่ง ลูกผสมที่ได้เมื่อผ่านการลอกออกมาแล้วจะเป็นปลาสีแดงและสีส้มสดใส และยังมีมุกกระจายเต็มทั้งตัวซึ่งเป็นอีกจุดเด่นอีกอย่างที่ได้มาจากพ่อ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเท็กซัสเเดง ทั้งสีที่สดใสและมุกที่โดดเด่น ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว ความสวยงามที่เกิดขึ้นจึงไม่ธรรมดาที่ชื่อ เท็กซัสแดง หรือ Red Texasจึงยังคงโลดแล่นและเป็นที่นิยมอยู่ในตลาดปลาหมอสีครอสบรีด เนื่องจากเท็กซัสแดงเป็นปลาที่ผ่านการข้ามสายพันธุ์มาแล้ว จุดอ่อนและจุดแข็งของปลาชนิดนี้ คือขาดความนิ่งของสายพันธุ์ คือ การผสมพันธุ์ปลาหมอสี 1 ครอกใช่ว่าจะได้ปลาสวยทุกตัว แต่ละตัวจะมีลักษณะของสีผิว ลวดลาย รูปทรง และมุกแตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิง อาจจะมีตัวสวยเพียงไม่กี่ตัวหรืออาจสวยเพียงแค่ตัวเดียวในครอกนั้นก็เป็นไปได้หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ซึ่งนั่นเป็นจุดที่ถือว่าด้อยที่สุดของเจ้าปลาหมอสีครอสบรีด เท็กซัสแดง หรือ Red Texas แต่ในทางกลับกัน จุดแข็งของเท็กซัสแดงคือ เป็นปลาที่จัดว่าอยู่ในระดับสวยสุดและมีจำนวนน้อยนิดเหลือเกินที่จะหาตัวสวยๆได้ แต่จำนวนผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของเจ้าปลาหมอสีครอสบรีด เท็กซัสแดง หรือ Red Texas ที่สวยๆ ยังมีอีกเยอะ จึงทำเจ้าปลาหมอสีครอสบรีด เท็กซัสแดง หรือ Red Texas ยังคงรักษาระดับของราคาและตลาดให้คงอยู่ในระดับที่สูงได้เหมือนเดิม

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

จุดเด่นของปลาหมอสีครอสบรีด ( CROSSBREED )

จุดเด่นของปลาหมอสีครอสบรีด ( CROSSBREED )
1. มีรูปร่างที่ใหญ่ รูปทรงที่สวยงาม มีลวดลายและสีสัน ที่สะดุดตา มีหัวที่โหนกและใหญ่ เป็นปลาที่สามารถ พัฒนาความสวยงามออกมาได้อย่างหลากหลาย รูปแบบ
2. ลูกปลาจำนวน 1 ครอก อาจจะมีความสวยงามหลากหลายรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางตัวมีหัวที่โหนกใหญ่ บางตัวมีรูปทรงที่สั้นและกว้าง หรือที่เรียกกัน ว่า ช๊อตบอดี้ บางตัวมีมุกแวววาวสวยงามเป็นอย่างยิ่ง บางตัวก็มีมาร์คกิ้งที่เว้นวรรคได้จังหวะสวยงาม หรือ บางตัวมีมาร์คกิ้งที่ยาวเป็นแถวทั้งตัวดูแลสวยงาม
3. ปลาหมอสีครอสบรีดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินเก่ง มีความอดทนสูง
4. อัตราการเจริญเติบโตสูงมาก
5. เพาะพันธุ์ได้ง่าย ให้ลูกแต่ละครั้งจำนวนมาก และมีอัตรารอดค่อนข้างสูง
6. ในการเพาะพันธุ์แต่ละครั้ง พ่อ-แม่ปลาพักเพียง 15 วัน ก็สามารถเพาะพันธุ์อีกครั้งได้
7. ปลาหมอสีครอสบรีด ( CROSSBREED )สามารถเปลี่ยนแปลงความสวยงามได้ตลอดเวลา

ปลาหมอสีครอสบรีด ( CROSSBREED )คืออะไร

ปลาหมอสีครอสบรีด ( CROSSBREED )คืออะไร คือ การนำปลาหมอสีที่ต่างสายพันธุ์กัน เอามาผสมข้ามสายพันธุ์กันโดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดแนวทางในการผสม เพื่อสร้างความแปลกใหม่ สวยงาม กว่าเดิมและเป็นการนำจุดเด่นของ พ่อและแม่ปลา มาผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ปลาแบบใหม่แปลกตาและมีความสวยงามยิ่งขึ้น และ เพื่อเป็นการสร้างปลาสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่มีความแปลกตา และมีความสวยงามที่ไม่เหมือนใคร โดยการผสมพันธุ์กันจะต้องอาศัยจินตนาการของ BREEDERและดวงเข้าช่วย ซึ่งในการผสมพันธุ์ ลูกปลาที่ได้มาแต่ล่ะครอกจะมีควายสวยงามที่แตกต่างกันไป เพราะปลาหมอสีไม่มีความนิ่งในสายพันธุ์ หรือที่ส่วนใหญ่มักจะเรียกกันว่า ปลาเปอร์เซนต์ ปลาเปอร์เซนต์ คือ อัตราหรือจำนวนลูกปลาที่จะได้ปลาสวยๆ ในแต่ละครอก
สมมุติ มีพ่อแม่ปลา 1 คู่ ให้ลูก 1 ครอก จำนวน 2000 ตัว แต่อาจได้ลูกปลาที่สวยจริง เพียง 10 % - 20 % เท่านั้น
คำณวนได้ดังนี้ 2000 คูณ 10 = 20000
20000 หาร 100 = 200
ดังนั้น ปลา 1 ครอกจะได้ปลาสวย 10 % = 200 ตัว

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552

ประสบณ์การจริงเมื่อต้องผ่าตัดปลาที่เป็นโรคลำไส้ไหลเอง

ประสบณ์การจริงเมื่อต้องผ่าตัดปลาที่เป็นโรคลำไส้ไหลผมเลี้ยงปลาหมอสีมาตัวนี้มาได้ 3 เดือนเศษ เป็นปลาหมอสีที่เพาะขึ้นมาเองอยู่ดีๆปลาหมอสีผมก็ใส้ไหล งดอาหารก็หายไปพักนึง จึงจับแยกออกมาไว้ตู้เดี่ยวพอให้อาหารอีกก็ใส้ไหลอีกเหมือนเดิม และผมก็ได้อ่านหนังสือมาเล่มนึงว่าต้องตัดไส้ส่วนที่เสียทิ้งแลกๆกก็ไม่กล้าหรอกครับ กลัวปลาตาย ปลาผมเป็นโรคไส้ไหลมา1เดือนแล้ว ก็เลยลองผ่าตัดดูเพราะไม่รู้จะทำยังไงก็เลยไปซื้อมีดโกนมา 1 เล่มเพื่อตัดไส้ส่วนที่เสียทิ้ง ผมก็ได้จับปลาออกมาจากตู้แล้วดึงใส้ออกมาให้เห็นจุที่ลำไส้ปลาเสียข้างในสุดแล้วใช้ใบมีดโกนตัดเลยส่วนที่เสียทิ้ง ส่วนที่ลำไล้ปลาเสียจะมีสีคล้ำๆ แล้วปล่อยปลาลงตู่เหมือนเดิน แล้วใส่เกลือและยาแก้อักเสพคน ลงในตู้ 1 เม็ดและไม่ให้อาหาร 3 วัน วันที่ 4 ก็ให้นิดหน่อย แล้วก็เพิ่มปริมาณเรื่อยครับตอนแรกก็กลัวปลาตายนะครับ แต่ปลาผมกับหายไม่มีอาการใส้ไหลอีกเลยครับ ไม่แนะนำให้ทำครับแต่นี่เป็นประสบกาณ์ของผมครับที่ทำจริงๆที่

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552

ปลาหมอสีออสก้า

ในบรรดา ปลาในกลุ่ม ปลาหมอสี หากเอ่ย ถึง ปลาออสการ์ เป็นปลาหมอสี ยุคแรกๆ ที่ เข้ามาใน เมืองไทย ไม่ปรากฎ หลักฐานเป็นที่แน่ชัด หลายสิบปี ก่อน คำว่า "หมอสี" จะถูกใช้เรียกแทน ปลาที่มีเชื่อสาย Cichildae เสียอีกปลาออสการ์ มีถิ่นกำเนิดจาก ลุ่มแม่น้ำ อะเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่ หวงถิ่น กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นอาหาร ปลาชนิดอื่นที่มีขนาดเล็กกว่า แต่ สามารถ เลี้ยงรวม กับ ปลา ที่มาจากลุ่มแม่น้ำ เดียวกันได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น ไทเกอร์โชว์เวสโนส, เรดเทลแคทฟิช, อะโรวาน่าเงิน เป็นต้นปลาออสการ์ ที่ พบในแหล่งน้ำ ตามธรรมชาติ นั้น ตัวจะดำ มี ลวดลาย สีแดงเพียงเล็กน้อย ที่เห็น สีสรร สดสาย ลวดลาย สดใส นี่ ล้วนเป็น ผลจากการคัดพันธุ์ ของมนุษย์ เรานี่ แหล่ะครับ มนุษย์ ที่ว่า ก็ คนไทย เรานี่แหล่ะครับ ที่เป็นผู้ พัฒนา สายพันธุ์ออสการ์ ให้เป็นที่ ฮือฮา ไม่ว่าจะเป็น ออสการ์ ลายเสือ, ออสการ์ทอง, ออสการ์เผือก ตาแดง และ อีกหลายๆ สายพันธุ์ ที่เป็นสินค้า ส่งออก สร้างรายได้ ให้ประเทศ

เทคนิคการฟอร์มปลาหมอสี

การฟอร์มปลา คือ การที่แบ่งปลาออกมาขึ้นตู้เพื่อเลี้ยงเดี่ยวๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าจะช่วยทำให้ปลาสามารถกินได้อย่างเต็มที่มากขึ้น โดยที่ไม่ต้องให้มีการทำร้ายกันกับตัวอื่น ทำให้เครื่องเคราทั้งเกล็ด ครีบ หาง ปาก หรือ อวัยวะอื่นๆของตัวปลาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการฟอร์มปลาคือ ช่วยทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงดู และรักษาปลาได้ง่ายขึ้น การฟอร์มปลาหมอสีแต่ละชนิดจะมีความคล้ายคลึงกัน ปลาหมอสี สามารถเลี้ยงรวมกันได้ในขนาดเล็กๆไม่เกิน 1.5-2 นิ้ว แล้วจึงนำมาแยกเพื่อขึ้นตู้ฟอร์มทีละตัว โดยการคัดเลือกปลาเพื่อขึ้นฟอร์มนั้นจะคัดเลือกปลาที่มีขนาดใหญ่โดดเด่นกว่าลูกปลาตัวอื่นในครอก หรือที่เรียกกันว่า “ หัวปลา” หรืออีกวิธีที่นิยมใช้ในการคัดเลือกปลาขนาดเล็กๆที่ยังไม่เห็นรายละเอียดมากนัก คือการคัดโดยดูที่มาร์คกิ้ง ส่วนมากจะคัดลูกปลาที่มีมาร์คกิ้งยาวที่สุดไว้ก่อนเพราะถือว่าเป็นพื้นฐานของลักษณะที่ดี โดยลูกปลาส่วนที่เหลือยังสามารถที่จะเลี้ยงรวมได้อีกสักระยะหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามแน่นอนว่า อัตราการเจริญเติบโต และความสมบูรณ์ของปลาก็จะยังไม่ดีเท่าที่ควรหากเทียบกับปลาที่นำขึ้นมาฟอร์ม

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

เสริมดวงวันเกิดด้วยปลาหมอสี

เสริมดวงวันเกิดด้วยปลาหมอสี
คนที่เกิด วันอาทิตย์ จะทำให้มีปัญญาเป็นเลิศควบคุมบริวารได้ดี
คนที่เกิด วันจันทร์ จะช่วยป้องกันเคราะห์กรรมต่างๆ
คนที่เกิด วันอังคาร จะทำให้มีผู้หวังดี รักใคร่ มีคนอุปถัมถ์ค้ำจุน
คนที่เกิด วันพุทธ จะทำให้มีความมานะอดทน มีอำนาจ ชื่อเสียง
คนที่เกิด วันพฤหัสบดี จะทำให้ประสบความสำเร็จ เจริญ มีโชคลาภ
คนที่เกิด วันศุกร์ จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
คนที่เกิด วันเสาร์ จะทำให้มีมีเงินมีทองร่ำรวย
เป็นไงครับอยากเลี้ยงเพื่อเสริมดวงบ้างไหมครับ

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

รักษาปลาป่วย

วิธีรักษาปลา
1.ควรแยกปลาตัวที่ป่วยนั้นออกจากตู้ เพื่อดูอาการ
2.ควรปรับน้ำในภาชนะที่แยกปลาไปรักษาให้อุณหภูมิในน้ำใกล้เคียงกับน้ำในภาชนะที่ใช้เลี้ยง
3.เมื่อแยกปลาป่วยออกแล้ว ควรล้างตู้ให้สะอาด เพื่อป้องกันเชื่อโรคที่อาจตกค้างอยู่ไม่ให้แพร่ระบาดไปสู่ปลาตัวอื่น
4.ควรใส่เกลือทุกครั้งที่ทำการรักษาโรค เพราะเกลือมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื่อโรคบางชนิด
5.ตัวยาบางชนิดมีความไวต่อแสง ควรใส่ในช่วงเย็น เพื่อป้องกันการเสื่อมของฤทธิ์ยา
6.อุณหภูมิของน้ำควรปรับให้สูงขึ้น อยู่ในช่วง 27-30 องศาเซลเซียส
7.อากาศควรมีมากกว่าปกติ เพราะปลาป่วยจะต้องการออกซิเจนมากเป็นพิเศษ
8.ในระหว่างที่ทำการรักษาอยู่นั้น ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน ประมาณ 30 %
9.ปลาที่พึ่งหายป่วย ควรกักทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนนำไปเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆ
10.เมื่อรักษาปลาจนหายดีแล้ว ก็ควรเก็บทำความสะอาดภาชนะที่ใช้รักษาปลาให้สะอาด เพื่อป้องกันการหลงเหลือของเชื้อโรค

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

ปลาหมอสี

จากสภาวะที่เศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ทั่วโลก หลายคนต้องถูกเลิกจ้าง แค่คิดก็เหนื่อยและท้อ แต่คนเราเกิดมาก็ต้องสู้ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน
ที่กำลังต่อสู้กับหลายๆสภาวะหลบความวุ่นวายมองหาอะไรใหม่ๆ ที่ทำให้สภาวะจิตใจที่กำลังแย่ ให้มีความรู้สึกที่ดีและสบายใจขึ้น ทำให้ไม่เครียด
กันดูไหมครับ สำหรับตัวผู้เขียนอาจจะมีความชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว( อะไรของมันว่ะ ) อย่าพึ่งเบื่อครับ ความชอบที่เป็นทุนเดิม คือ การเลี้ยงปลา อาทิ
เช่น การเลี้ยงปลาเงินปลาทอง ปลาสอด ปลาหางนกยุง ปลาหมอสี ปลาอะโรวาน่า ปลากัด กุ้ง เต่า ฯลฯ แต่สำหรับตัวผู้เขียน มีความชื่นชอบ ปลาหมอสี
มากซึ่งปลาชนิดนี้มันมีความสวยงามอยู่ในตัวของมันเอง หลายครั้งที่ตัวผู้เขียนเองนอนมองดูปลาสุดโปรดแล้วหลับคาตู้ปลาเลย และคนจีนมีความเชื่อว่า
ปลาชนิดนี้เป็นปลามงคล ช่วยเสริมดวงสำหรับผู้ที่เลี้ยง จากที่กล่าวมาข้างต้น ตัวผู้เขียนก็เลี้ยงมาได้ประมาณ 4 ปีเองครับ มีทั้งเลี้ยงถูกวิธี ผิดวิธี มาก็มาก
แล้วก็ทำให้หลายๆคนชอบปลาหมอสี เหมือนกับตัวผู้เขียน แล้วก็หลายรายเหมือนกันครับ ที่บ้าปลาหมอสีเหมือนกับตัวผู้เขียน จากที่ได้อ่านบทความที่ตัวผู้เขียนเกริ่นมาข้างต้น( เพื่อนๆอยากจะบ้าตามหรือยัง ) ..เฮ้ยๆๆๆๆ อยากจะลองเลี้ยงปลาดูบ้างไหมครับ งั้นมาเริ่มกัน
เลยนะครับ 1. อย่างแรกเลย ต้องนึกให้ออกว่าตัวเองอยากเลี้ยงปลา อะไร 2. อย่างที่สอง อย่าลืมตรวจสอบว่าในกระเป๋ามีงบอยู่เท่าไหร่ 3. อย่างที่สาม อย่าลืมว่าถ้าซื้อปลามาแล้ว ต้องมีอุปกรณ์สำหรับใส่ปลา เช่น ตู้ปลา, ปํ๊มลม( อ๊อกซิเจน), หัวทราย แต่ถ้า มีงบมากพอแนะนำให้ซื้อตู้ ที่เป็นระบบกรองจะดีมากเลยครับเป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับการเตรียมตัวที่จะเลี้ยงปลา ไม่ยุ่งยากเหมือนอย่างที่คิดใช่ไหมครับ สำหรับครั้งต่อไปจะมาแนะนำการเลือกชื้อปลา และ ปลาที่ตัวผู้เขียนชอบ คือ ปลาหมอสี ครับ

ผู้ติดตาม