ยินดีต้อนรับ บล็อกสำหรับคนที่ชื่นชอบปลาหมอสี Crossbreed สายพันธุ์ต่างและคนที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลา

คุยกันเรื่องปลาครับ

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โรคปลาตาโปน

โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นเกิดจาก การติดเชื้อ เกิดจากการบาดเจ็บทางตา หรือ เกิดจากมีพยาธิเข้าไปอยู่หลังตา และที่สำคัญ อีกสาเหตุคือ คุณภาพของน้ำไม่ดี มีการเน่าเสีย คุณภาพของน้ำไม่เหมาะสมและจากทุกสาเหตุที่อาจเกิดขึ้น ทุกอย่างทุกองค์ประกอบ ล้วนเป็นสาเหตุได้ทั้งนั้น ถ้าเราไม่ใส่ใจดูแลปลาหมอสีตัวโปรด ของเราให้ดีครับเมื่อปลาหมอสีตัวโปรดของเราไม่สะบายทุกคนจะต้องหาวิธีที่จะทำให้ปลาหมอสีตัวโปรดของตัวเองให้กลับมาแข็งแรงและร่าเริงเหมือนเดิม
อาการของโรคตาโปน
ปลาจะซึมไม่ร่าเริงเหมือนเดิม ไม่ค่อยกิอาหาร นัยต์ตาของปลาหมอสีจะมองเห็นเป็นฝ้าสีขาวๆขุ่นๆ และเริ่มนูนออกมานิดๆและถ้าปล่อยไว้นานตาของปลาหมอสีจะนูนออกมาเยอะ มาถึงตอนนี้ ถ้ายังไม่รักษาแล้วยังปล่อยไว้อาจทำให้ปลาหมอสีของท่านตาบอดหรือตายได้นะครับตั้งแต่ที่ท่านสังเกตุเห็นอาการนี้ควรแยก ปลาออกมาไว้ตัวเดียว ไม่ควรเลี้ยงปลารวมกับตัวอื่น เพราะอาจทำให้ปลาตัวอื่นติดชื้อไปด้วยและควร ล้างตู้ให้สะอาดด้วครับ
การป้องกัน
ควรรักษา สภาพน้ำ ให้สะอาดอยู่เสมอ อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพ อาหารสดเช่น กุ้งฝอย ควรล้างให้สะอาดด้วย ด่างทับทิม และน้ำเป่ลาที่สะอาดครับการรักษา จะรักษาคล้ายกันกับปลาหมอสีที่ป่วยเป็นโรค หัวเป็นรู ครับ จะแตกต่างกันตรงที่ ตัวยาที่ใช้ในการรักษาครับโรค หัวเป็นรู จะใช้ ยา เมโทรนิดาโซ( Metronidazole )เพียงอย่างเดียวครับสำหรับโรค ปลาตาโปน ตัวยาที่ใช้คือ ยา เมโทรนิดาโซล ( Metronidazole ) + เอม็อกซี่ ( Amoxi ) ยาทั้ง 2 ชนิดนี้หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปและนำยาทั้ง 2 ตัวมาบดให้ละเอียดเน้นต้องให้ละเอียดนะครับแล้วนะมาละลายน้ำ 3-5 ซีซี
การรักษาสามารถรักษาได้ 2 วิธี
1. การให้กินยา
2. การแช่ด้วยยา
วิธีที่ 1 การให้กินยา
การให้กินยาก็แยกได้อีก 2 วิธี วิธีนี้ค่อนข้างได้ผลดี
1. การผสมยาให้เข้ากับอาหาร โดยการคลุกยาให้ผสมกับอาหาร และใช้น้ำผสมให้หมาดๆ เพื่อให้ยาเคลือบที่ผิวของอาหาร แล้วปล่อยไว้ให้แห้ง แล้วให้อาหารปลาหมอสีตามปกติ จนปลาเริ่มมีอาการดีขึ้นดูได้จากตาของปลาเริ่มยุบ อัตราส่วนในการผสม ยา เมโทรนิดาโซล ( Metronidazole ) + เอม็อกซี่ ( Amoxi ) + น้ำ ต่อ อาหาร 1 กรัม = 200 มิลกรัม + 250 มิลกรัม + 3 ซี.ซี / อาหาร 1 กรัม ในกรณีนี้ ปลาหมอสี ยังสามารถกินอาหารเองได้ครับ
2. การป้อนยา คือ การนำตัวยาเข้าไปในตัวปลาโดยตรงเลยครับ วิธีนี้จะยุงยากนิดหน่อยครับ อุปกรณ์ที่ใช้ มี กระบอกเข็มฉีดยา ขนาดเล็กและไม่มีเข็ม ใส้ไก่รถจักรยานยาว ประมาณ 2-3 นิ้ว เพราะจะนุ่มไม่อันตรายต่อภายในตัวปลาแล้วนำยาผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน ยา เมโทรนิดาโซล ( Metronidazole ) + เอม็อกซี่ ( Amoxi )+ น้ำ = 200 มิลกรัม + 250 มิลกรัม + 5 ซี.ซี ขนาดปลา 3-5 นิ้ว ถ้าปลาตัวโตอาจเพิ่มปริมาณของยาขึ้นอีกเป็น=400 มิลกรัม + 500 มิลกรัม + 5 ซี.ซี ให้ตรวจสอบปริมาณของยาด้วยว่ามีกี่มิลลิกรัมต่อเม็ด หลังจากผสมยาแล้ว ให้ดูดเข้ากระบอกฉีดยาแล้วต่อใส้ไก่ เข้ากับกระบอกฉีดยา แล้วสอดเข้าไปในปากของปลากะให้ถึงกระเพาะของปลา แล้วฉีดยาเข้าไป เท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ แล้วรอดูอาการครับ ประมาณ 5-7 วันครับ ถ้าไม่ดีขึ้นให้ทำซ้ำอีกครับ จนกว่าปลาจะดีขึ้นครับ และให้เปลี่ยนน้ำปลา 30 % ทุก 3 วัน
วิธีที่ 2. การแช่ด้วยยา
วิธีนี้ได้ผลช้าครับอัตราการใช้ยา ยา 25 มิลลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร แช่จนกว่าอาการจะดีขึ้นครับ และให้เปลี่ยนน้ำ 30 % ทุกๆ 3 วันทำไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการปลาจะดีขึ้นครับ
การไม่เป็นโรคภัย คือ ลาภอันประเสริฐครับการรักษาสภาพให้สะอาดตลอดเวลา การเลี้ยงที่เหมาะสม อาหารที่มีคุณภาพ เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาแข็งแรงครับขอให้โชคดีกับการเลี้ยงปลาครับ

0 ความคิดเห็น:

ผู้ติดตาม