ยินดีต้อนรับ บล็อกสำหรับคนที่ชื่นชอบปลาหมอสี Crossbreed สายพันธุ์ต่างและคนที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลา

คุยกันเรื่องปลาครับ

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โรคหัวเป็น รู

สาเหตุเกิด ได้จากหลายๆ ปัจจัย และสภาพการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสม ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ปลาป่วยได้เช่น มีการปล่อยให้น้ำเน่าเสีย
มีการหมักหมมของของเสียในปริมาณที่มาก ออกซิเจนในน้ำมีไม่เพียงพอ หรือ อุณหภูมิของน้ำ ต่ำหรือสูงเกินไป
ดังที่กล่าวมาข้องต้น นี่เป็นเพียงอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปลาป่วย ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ปลาที่มีอาการป่วยของ โรคหัวเป็นรู จะเกิดจากสา
เหตูนี้อย่างเดียว ชึ่งอาจจะเกิดได้จากสาเหตูอื่นอีกก็ได้เช่น เกิดจากอาหารที่ใช้อยู่มีคุณภาพที่ต่ำหรือเกิดจาก การขาด วิตามินหรือแร่ธาตุ
บางอย่าง ซึ่งดังที่กล่าวมา ทุกคนที่เลี้ยงปลาหมอสีย่อมมีความต้องการให้ปลาหมอสีที่เลี้ยงอยู่ มีสุขภาพที่แข็งแรง โตวันโตคืน แต่ในเมื่อปลาเกิด
ป่วย ต้องรีบรักษาอย่าปล่อยไว้นาน จนยากที่จะแก้ แล้วต้องมาเสียใจภายหลัง เมื่อปลาหมอสีตัวโปรดต้อง สิ้นชีวาวาย ครับ
อาการ ปลาจะซึมไม่ร่าเริงเหมือนเดิม สีผิวซีดผิดปกติไปจากเดิม ไม่ค่อยกิอาหาร บริเวณหัวหรือหน้าผา ของ ปลาจะเริ่มเห็นเป็นรูเล็กๆ เกิดขึ้น แล้วจะค่อยขยายเป็น บริเวณกว้าง และ ลึก ลงเรื่อยๆไปจนถึงกระดูก จาก อาการนี้ควรแยก ปลาออกมาไว้ตัวเดียว ไม่ควรเลี้ยงปลารวมกับตัวอื่น เพราะอาจทำให้ปลาตัวอื่นติดชื้อไปด้วยและควร ล้างตู้ให้สะอาดด้วยครับ การป้องกัน ควรรักษา สภาพน้ำ ให้สะอาดอยู่เสมอ อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพ และให้อาหารในปริมาณที่พอดีที่ปลาหมอสีกินหมด ไม่ให้เหลือปริมาณเศษอาหารในตู้ มากเกินไป
การรักษา
สามารถรักษาได้ 2 วิธี
1. การให้กินยา
2. การแช่ด้วยยา
ยาที่ใช้ในการรักษา คือ เมโทรนิดาโซล ( Metronidazole ) หาซื้อได้ตามร้านขายยา ทั่วไป
วิธีที่ 1 การให้กินยา
การให้กินยาก็แยกได้อีก 2 วิธี วิธีนี้ค่อนข้างได้ผลดี
1. การผสมยาให้เข้ากับอาหาร โดยการคลุกยาให้ผสมกับอาหาร และใช้น้ำผสมให้หมาดๆ เพื่อให้ยาเคลือบที่ผิวของอาหาร แล้วปล่อยไว้ให้แห้ง แล้วให้อาหารปลาหมอสีตามปกติ จนปลาเริ่มมีอาการดีขึ้น ดูได้จากรูที่หัวปลาเริ่มมีเนื้อเยื้อ ใหม่ขึ้นมาทดแทน อัตราส่วนในการผสม ยา 15 มิลลิกัม ต่อ อาหาร 1 กรัม ในกรณีนี้ ปลาหมอสี ยังสามารถกินอาหารเองได้ครับ
2. การป้อนยา คือ การนำตัวยาเข้าไปในตัวปลาโดยตรงเลยครับ วิธีนี้จะยุงยากนิดหน่อยครับ อุปกรณ์ที่ใช้ มี กระบอกเข็มฉีดยา ขนาดเล็กและไม่มีเข็ม ใส้ไก่รถจักรยานยาว ประมาณ 2 นิ้ว เพราะจะนุ่มไม่อันตรายต่อภายในตัวปลาแล้วนำยาผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน ยา 50 มิมลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ซีซี ต่อน้ำหนักปลา 1 ก.ก หลังจากผสมยาแล้ว ให้ดูดเข้ากระบอกฉีดยาแล้วต่อใส้ไก่ เข้ากับกระบอกฉีดยา แล้วสอดเข้าไปในปากของปลากะให้ถึงกระเพาะของปลา แล้วฉีกยาเข้าไป เท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ แล้วรอดูอาการครับ ประมาณ 1 อาทิตย์ครับ ถ้าไม่ดีขึ้นให้ทำซ้ำอีกครับ จนกว่าปลาจะดีขึ้นครับ
วิธีที่ 2. การแช่ด้วยยา วิธีนี้ได้ผลช้าครับอัตราการใช้ยา ยา 25 มิลลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร แช่จนกว่าอาการจะดีขึ้นครับ และให้เปลี่ยนน้ำ 30 % ทุกๆ 3 วันทำไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการปลาจะดีขึ้นครับ
และนี่ก็คือวิธีการรักษาปลาหมอสีที่ป่วยเป็นโรค หัวเป็นรู ครับ การไม่เป็นโรคภัย คือ ลาภอันประเสริฐครับการรักษาสภาพให้สะอาดตลอดเวลา การเลี้ยงที่เหมาะสม อาหารที่มีคุณภาพ เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาแข็งแรงครับขอให้โชคดีกับการเลี้ยงปลาครับ

ผู้ติดตาม